ในโลกของแฟชั่นเชื่อว่าใครหลายๆ คนต้องรู้จักแบรนด์อย่าง H&M ในฐานะ 1 ในแบรนด์ชั้นนำของโลก ที่พยายามสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าในการเลือกซื้อ โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย 1 ในนั้นคือการร่วมมือกับ Google ในการพัฒนาใช้ Google Assistant and Voice ที่จะช่วยมอบประสบการณ์ที่เหนือขั้นแก่ลูกค้าของพวกเขา
ซึ่งกว่าจะออกมาให้ลูกค้าได้ใช้กัน H&M และ Google Experts ได้ร่วมมือกันทำ Design Sprint เพื่อหาไอเดีย และออกแบบการทำงานร่วมกัน ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ Google Assitant เพื่อสั่งซื้อสินค้าจาก H&M Home ได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ และไม่เหมือนคุยกับหุ่นยนตร์ โดยทุกวันนี้สามารถสั่งงานได้แล้วเพียงพูดว่า “Ok Google can I talk to H&M Home”
Table of Contents
Design Sprint คืออะไร
ถ้าตามที่ Jake Knapp ผู้แต่งหนังสือ How To Solve Big Problems and Test New Ideas in Just Five Days กล่าวไว้เขาได้บอกว่า Design Sprint คือ
กลยุทธ์ทางธุรกิจ นวัตกรรม พฤติกรรมศาสตร์ และอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยรวมกระบวนการแต่ละขั้นตอนที่ทุกคนในทีมสามารถใช้ได้
โดยเป็นแนวคิดในการตีโจทย์ปัญหา สร้างชิ้นงานต้นแบบ และทดสอบกับผู้ใช้งานจริงใน 5 วัน ด้วยทีมขนาดเล็กกับเวลาเพียงสัปดาห์เดียวจากปัญหาไปสู่วิธีแก้ไขปัญหาทีละขั้นตอน สิ่งนี้ทำให้คุณสามารถก้าวต่อไปได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์, บริการ หรือแม้แต่กลยุทธ์ทางการตลาด นั้นตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งจะช่วนลดความเสี่ยงในการลงทุนพัฒนาได้
ทำไมต้องทำ Design Sprint
เพราะข้อผิดพลาดที่หลายองค์กรมักเจอในการทำ Innovation หรือ Digital Product คือการลงทุนทำ และพัฒนาในสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า จนเมื่อออกสู่ตลาดแล้ว ไม่ว่าสิ่งที่ทำมาจะโดดเด่นแค่ไหน ก็ไม่มีใครเลือกใช้งาน ทำให้สูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นเหมือนกำแพงขวางกั้นให้ไม่กล้าทำนอกกรอบอีกต่อไป
ดร.ต้า – วิโรจน์ จิรพัฒนกุล Google Certified Sprint Master คนแรกของเมืองไทย และ Managing Director ของ Skooldio และ เคยให้ความเห็นไว้ว่า ต้นเหตุของความผิดพลาดเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าสิ่งที่องค์กรทำออกมานั้นไม่ดี แต่เป็นเพราะว่าการตั้งต้นที่ผิดจุด ไอเดียที่ใช้ตั้งแต่แรกอาจไม่ตอบโจทย์กับลูกค้า แต่กว่าจะรู้ตัวก็เป็นตอนที่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จนเสร็จแล้ว
ดังนั้นการทำ Design Sprint จะช่วยให้ทีมสามารถเริ่มต้นได้ถูกจุดมากยิ่งขึ้น เปลี่ยนไอเดียนับร้อยพันที่มีให้สามารถจับต้องได้ วัดผลได้ พิสูจน์ได้ โดยพัฒนา Prototype เพื่อนำไปทดลองกับผู้ใช้งานจริง และเรียนรู้จากผลตอบรับเพื่อพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เริ่มต้นทำ Design Sprint
แน่นอนว่าก่อนเริ่มทำคุณควรเตรียมบางสิ่งก่อนเริ่มงาน เริ่มจากมองหาความท้าทายที่สำคัญมากๆ อย่างปัญหาที่ลูกค้าเจอในการใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา หรือการหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้คุ้มค่ากับการทำงาน 5 วันที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้
เริ่มต้นสร้างทีม
ควรเลือกคนที่จะมีปัญหากับสิ่งที่เราทำ เพื่อให้เขาเรียนรู้ เข้าใจ และเปิดโอกาสให้เขาได้ออกความคิดเห็น เป็นคนที่ต้องทำโปรเจกต์นี้ต่อไป หรือคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ นำเสนอไอเดียได้ โดยรวบรวมทีมไม่เกิน 7 คน รวมถึงผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจร่วมด้วย
หลังจากตั้งทีมได้แล้ว ก็ตุนโพสต์อิตไว้ให้พร้อม จัดเตรียมสถานที่ และจองตัวพวกเขาไว้ทั้งสัปดาห์ เพื่อโฟกัสความสนใจทั้งหมดไปที่การทำได้เลย
วันแรก (#Map) เข้าใจปัญหาและตั้งเป้าหมายในระยะยาว
อะไรคือเป้าหมายในระยะยาว
ทำไมเราต้องทำโปรเจคนี้ และอะไรคือจุดหมายของเราในอีก 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือ อีก 5 ปีต่อจากนี้?
เมื่อเริ่มต้นทำ Sprint คุณควรเริ่มจากการวางเป้าหมายระยะยาว เหมืองธงที่ทุกคนในทีมมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน หลักจากตั้งเป้าหมายได้แล้วก็เปลี่ยนเป้าหมายที่มีให้เป็นสมมุติฐาน หรืออุปสรรคต่างๆ ในรูปคำถาม เช่น “เราจะทำอย่างไรเพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าที่มี Loyalty ต่อผลิตภัณฑ์ของเรา?” หรือ “ทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ของเรา”
อะไรคือ Pain Point ของผู้ใช้งาน
หลังจากกำหนดเป้าหมายระยะยาวได้แล้ว คุณอาจเริ่มต้นโดยการวาดแผนเรื่องราวเพื่อให้เห็นว่าประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นอย่างไรตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เรารู้ว่าปัญหาที่ต้องแก้อยู่จุดไหน และแก้ให้ตรงจุด โดยสามารถเลือกใช้หลากหลาย Framework ในการวาดแผนภาพขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น Empathy Mapping, Customer Journey หรือ Swim lane diagram เป็นต้น
ทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนอุปสรรคนี้ให้เป็นโอกาส
การตั้งคำถามอย่าง “เราจะทำอย่างไร” (How Might We) จะช่วยให้เรากลับมาโฟกัสที่ความต้องการและปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายอีกครั้ง โดยไม่เร่งรีบไปคิดวิธีการแก้ไขปัญหาก่อน เช่น หากปัญหาคือ “ผู้ใช้มีปัญหาในการเลือกซื้อสินค้าให้เพื่อนเป็นของขวัญ” คำถามของเราอาจจะเป็น “ทำอย่างไรให้ผู้ใช้เลือกซื้อสินค้าให้เพื่อนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น” หลังจากนั้นใช้วิธีการลงคะแนน เพื่อจัดลำดับความสำคัญ และใช้เพื่อตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นเป้าหมายของคุณ
วันที่ 2 (#Sketch) เปลี่ยนไอเดีย เป็นภาพวาด
เริ่มต้นด้วย Lightning Demo
ส่งเสริมให้ทีมของคุณค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่งและหาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ซึ่งอาจเป็นแรงบันดาลใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในงานของคุณ โดยให้แต่ละคนขึ้นมาเล่าคนละประมาณ 3 นาที ระหว่างนั้นก็คอยจดโน็ตเอาไว้ เพื่อเวลามีไอเดียแล้วทุกคนจะเริ่มลงรายละเอียดกันมากขึ้น
Working alone together
หลังจากนำเสนอไอเดียกันไปแล้ว ต่อจากนี้แต่ละคนจะเริ่มพูดคุยกันน้อยลง โดยแต่ละคนจะเริ่มสร้างไอเดียของตัวเอง ที่มีการลงรายละเอียดให้กับแนวคิดของตนมากขึ้น โดยมีลำดับวิธีการทำดังนี้
- Note 20 นาที
เริ่มต้นด้วย 20 นาทีแรกใช้ไปกับการเขียนโน๊ตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย โอกาส หรือแรงบันดาลใจที่คุณเก็บมาก่อนหน้านี้ - Ideas 20 นาที
ใช้เวลาอีก 20 นาที ในการวาดภาพไอเดียในหัวคุณออกมา จะเป็นภาพหรือตัวหนังสือก็ได้ - Crazy 8s 8 นาที
เลือกไอเดีย หรือแนวคิดที่คุณมั่นใจมากที่สุดขึ้นมา แล้วพยายามออกแบบหลาย ๆ รูปแบบที่แตกต่างกันใน 8 นาที หรือที่เรียกว่า Crazy 8s Exercise - Solution Sketch 30+ นาที
เมื่อไอเดียทั้งหมดเริ่มชัดเจนขึ้นแล้ว ก็เริ่มลงมือวาดหน้าตาของมันออกมาได้เลย โดยยังไม่ต้องสวย แค่ลงรายละเอียดต่างๆ ให้คนอื่นเข้าใจก็พอ
วันที่ 3 (#Decide) ตัดสินใจ
ขั้นตอนในการตัดสินใจ
การตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาเพื่อนำไปสร้างเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) ผ่านกระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยให้ทุกคนได้ประเมินผลงานทั้งหมดอย่างเงียบๆ (Silent Review) และพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจในแต่ละผลงานอย่างเป็นระบบ (Structured Critique) ผ่าน 4 ขั้นตอนง่าย
-
- Art Museum
หยิบเอาภาพที่วันที่ 2 ได้วาดไว้ขึ้นมาแปะโชว์บนกำแพงให้ทุกคนเห็น และควรจะปกปิดตัวตนของเจ้าของแต่ละไอเดีย (อาจให้ Facilitator ช่วยเอาขึ้นให้แทน) - Heat Map
แต่ละคนในทีมจะได้รับสติกเกอร์ คนละ 3 ดวงเพื่อใช้ลงคะแนนไอเดียที่ชอบ หรือสนใจกันแบบเงียบๆ โดยยังไม่มีใครได้อธิบายรายละเอียดงานของตัวเอง - Speed Critique
ทุกคนในทีมจะได้รับโอกาสถามคำถามต่างๆ ในแต่ละไอเดีย และเขียนสรุปบนโพสต์อิตเอาไว้ แต่เจ้าของไอเดียจะยังไม่พูดอะไร จนกว่าจะวนครบทุกไอเดีย จึงพูดถึงสิ่งที่ทุกคนไม่ได้พูด และตอบคำถามที่มี - Dot Voting
ทุกคนจะได้รับสติกเกอร์อีกครั้ง แต่คราวนี้เหลือเพียง 1 ดวง เพื่อเลือกไอเดียที่ชอบที่สุดอีกครั้ง - Super Vote
ในขั้นตอนสุดท้าย หัวหน้าหรือผู้บริหาร จะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ โดยอาจถามไถ่ความเห็นของคนในทีมก่อน เพื่อเลือกไอเดียที่ตนเองเชื่อซึ่งอาจเลือกได้ตั้งแต่ 1-3 ไอเดีย
- Art Museum
Storyboard
หลักจากเลือกไอเดียที่จะทำได้แล้ว เพื่อเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้นก่อนทำ Prototype ของสินค้า เราควรเริ่มสร้าง Storyboard ขึ้นมาราวๆ 5-15 ภาพ เพื่อแสดงเรื่องราวการทำงานของชิ้นงานต้นแบบว่าทำงานอย่างไรในมุมของลูกค้า และเข้าใจเหตุผลของลูกค้าที่เลือกใช้สินค้าของเรามากขึ้น รวมไปถึงเข้าใจว่า Prototype ของเรามีองค์ประกอบอะไรบ้างได้อย่างชัดเจน
วันที่ 4 (#Prototype) เริ่มสร้างชิ้นงานต้นแบบ
หลังจากระดมไอเดียกัน และเลือกไอเดียที่จะทำตัวต้นแบบแล้ว สิ่งต่อไปคือสร้างมันขึ้นมา โดยใช้หลักการ Fake It ซึ่งเป็นการสร้างแค่ฉากหน้าขึ้นมา ให้พอจับต้องได้ภายใน 1 วัน และสามารถทดสอบการใช้งานเพื่อเก็บความคิดเห็นของผู้ใช้งานมาปรับปรุง โดยอาจแบ่งงานภายในทีมออกเป็น 5 ส่วนเช่น
- Makers
โดยปกติ Designer หรือ Developer อย่างน้อย 2 คน จะรับผิดชอบในการสร้างส่วนประกอบแต่ละส่วนของต้นแบบ - Stitcher
หลังจากนั้นทั้ง Designer และ Developer จะทำงานร่วมกันเพื่อนำส่วนประกอบต่างๆ ของต้นแบบมาประกอบเข้าด้วยกัน - Writer
Product Manager จะเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบข้อความต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าภาษาที่ใช้นั้นเหมาะสมกับผู้ใช้ - Asset Collector
ทีมสนับสนุนการทำงานของ Maker ในการตามหาเว็บไซต์ หรือรูปภาพ และไอคอนต่างๆ ในการนำมาสร้างแต่ละส่วนประกอบ - Interviewer
ทีมควรเตรียมสคริปต์สัมภาษณ์ผู้ใช้งานไว้บางส่วน เพื่อเก็บความเห็นของผู้ใช้ได้ครบถ้วน
วันที่ 5 (#Test) ทดสอบและวัดผล
ทดสอบกับผู้ใช้งาน
เมื่อมาถึงขั้นตอนการทดสอบกับผู้ใช้งาน Nielsen Model แนะนำว่าคุณควรสัมภาษณ์ผู้ใช้งานเพียง 5 คน ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคุณมากที่สุดเท่านั้น เพราะคุณสามารถระบุปัญหาที่เจอได้มากถึง 85% ซึ่งเพียงพอในการแก้ไขจุดบกพร่อง โดยในระหว่างการตั้งคำถาม ผู้ใช้งานควรได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด ในขณะที่ทีมงานจะนั่งชมอยู่คนละห้องกัน
เรียนรู้จากผลตอบรับ
โดยอุดมคติแล้วคุณควรดูผลการสัมภาษณ์ด้วยกันทุกคน เพื่อที่จะวาดขึ้นกระดานให้คนทุกคนเห็นถึงปัญหาจากผู้ใช้งานในแต่ละส่วนประกอบของ Prototype ออกมาเป็นตาราง ซึ่งจะทำให้ทุกคนมองเห็นแพทเทริน์ของปัญหาได้อย่างชัดเจน และทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่อไปได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
Key Takeaway
- User is King ตลอดการทำ Sprint นั้นทุกกระบวนการจะอยู่ภายใต้แนวคิด User-Centred โดยผลิตภัณฑ์หรือไอเดียต่างๆ นั้นถูกพัฒนาขึ้นภายใต้ความเข้าใจว่าผู้ใช้งาน หรือลูกค้านั้นต้องการอะไร และพยายามเก็บความเห็นต่างๆ ของผู้ใช้งานไปจนจบการทำ Sprint
- Consider all perspectives เราควรพิจารณาทุกมุมมองที่เกิดขึ้น เพราะการทำ Design Sprint ได้รวบรวมทีมงานสำคัญในส่วนต่างๆ ไว้ในที่เดียวแล้ว ทำให้ไม่มีอุปสรรคจากโครงสร้างองค์กรเข้ามาขัดขวางการทำงาน ทำให้แต่ละคนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวก
- Efficient and Effective การที่ทุกคนเข้ามาทำงานร่วมกันในตลอด 5 วันนั้นช่วยลดการประชุมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพลงไป ทำให้ไม่กินเวลาการทำงาน และมีเวลาในการใช้สมาธิไปกับการทำงานได้อย่างเต็มที่
- Stakeholder Expectations การทำงานร่วมกันทำให้ทุกคนสามารถเข้าใจตรงกันได้ตั้งแต่วันแรกในการทำงาน ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตัดสินใจได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และทำให้การพูดคุยหลังจากนี้สร้างความเชื่อมั่นในการทำงานกับทุกคนในทีมได้
- Learn fast, fail fast การทำ Sprint นั้นทำให้คนทำงานมองเห็นเป้าหมายได้อย่างชัดเจนล่วงหน้า และบังคับให้คุณตัดสินใจปัญหาสำคัญ หรือซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายหลายๆ ด้านได้ และทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
ถ้าคุณอยากลองทำ Design Sprint จริงๆ กับ Google Certified Sprint Master แบบเข้มข้นเพื่อพัฒนา Digital Product ของคุณให้แก่ลูกค้า ไม่ควรพลาดกับโปรแกรม Digital Leadership Bootcamp หลักสูตรเพื่อผู้นำในยุคดิจิทัล ที่คุณจะได้เรียนรู้จัดเต็มถึง 7 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มทักษะการทำงานยุคใหม่ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)
* หมายเหตุ โปรแกรม Digital Leadership Bootcamp รุ่นที่ 5 เปิดรับสมัครแล้วและเริ่มเรียน 28 มิถุนายน – 16 สิงหาคม 2567 (รับจำนวนจำกัด)
Reference
https://www.thesprintbook.com/the-design-sprint
https://uxplanet.org/whats-a-design-sprint-and-why-is-it-important-f7b826651e09