ในปัจจุบัน การเติบโตของ Mobile Application นั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการคาดการณ์ของ Statista ในปี 2024 ผู้ใช้ Mobile Application จะสูงถึง 1 พันล้าน User ในขณะที่จำนวน Moblie Application เองก็พุ่งสูงขึ้นในแต่ละปี ทำให้การพัฒนา Application ในปัจจุบันจึงถือว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของหลาย ๆ องค์กร
แต่การที่จะค่อย ๆ เขียน Application ทีละ Platform นั้น มันช่างใช้เวลายาวนานเหลือเกิน ซึ่งจริง ๆ แล้วเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการพัฒนาให้เราสามารถเขียนโค้ดชุดเดียว แต่ได้ Application ที่รันได้บนหลาย Platform กันเลยทีเดียว
ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบการพัฒนา Application ที่กำลังเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งก็คือ Hybrid Application
สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนในสายคอมพิวเตอร์, การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือมีหลายทางเลือก โดยเฉพาะสำหรับแอปที่ต้องการให้ทำงานได้ทั้งบน iOS และ Android อย่างมีประสิทธิภาพ และ “Hybrid Application” เป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้น!
Table of Contents
Hybrid Application คืออะไร?
Hybrid Application (หรือแอปพลิเคชันไฮบริด) คือการผสมผสานแอปแบบ Native และ Web Application ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งในรูปแบบแอปติดตั้งบนเครื่อง และผ่านเบราว์เซอร์ เหมือนกับเว็บแอป
เปรียบได้กับสุภาษิตไทยที่ว่า “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว”
หากขยายความเพิ่มขึ้นอีกในแง่ของการผสมผสานระหว่าง Web Application และ Native Application นั้น กล่าวคือ เป็นการพัฒนา Application โดยใช้ภาษาที่ใช้พัฒนา Web Application ทั่วไปที่รู้จักกันดี เช่น HTML, CSS และ JavaScript แต่ก็สามารถดึงความสามารถของ Native Application เช่น กล้อง หรือ GPS และสามารถทำเป็น Application นำไปลง Play Store หรือ App Store ได้เหมือน Native Application เช่นกัน เรียกได้ว่าพัฒนาครั้งเดียว ได้ทุก Platforms กันเลยทีเดียว
ทำไมถึงควรสนใจ Hybrid Application?
- การพัฒนาที่ประหยัดเวลา: เขียนแค่ครั้งเดียว แต่ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android!
- ประหยัดต้นทุน: ไม่ต้องจ้างทีมพัฒนาแยกกัน สำหรับแต่ละระบบปฏิบัติการ
- การอัปเดตง่าย: เพิ่มฟีเจอร์หรือแก้บัคแบบ real-time ผ่านเซิร์ฟเวอร์
- เข้าถึงข้อมูลได้เต็มที่: สามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ของมือถือได้เต็มที่ เหมือนแอปพลิเคชั่นแบบ Native
สำหรับเพื่อน ๆ นักเรียนคอมพิวเตอร์ที่อยากเริ่มสร้างแอปพลิเคชั่นนั้น Hybrid Application อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่ควรพิจารณา!
Hybrid Application Framework คืออะไร ?
Hybrid Application Framework คือเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแอปพลิเคชันไฮบริด ซึ่งช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถเขียนโค้ดเพียงครั้งเดียวแล้วนำไปใช้งานบนหลายแพลตฟอร์มได้
ในการพัฒนา Hybrid Application นั้น ย่อมต้องมีเครื่องมือ (Framework) ในการพัฒนา เพื่อให้ Application เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยตัว Hybrid Application Framework ที่นักพัฒนาใช้กันในปัจจุบันก็จะมีหลากหลาย เช่น Xamarin, React Native หรือแม้แต่ Flutter ที่เป็น Framework ที่ยอดนิยมในปัจจุบัน ซึ่งถูกพัฒนาโดย Google ซึ่งนอกจากเรื่องประสิทธิภาพ และ Developer Experience ที่ว่ากันว่าเป็นมิตรกับนักพัฒนามากๆแล้วนั้น ทางด้าน Flutter Community เองก็ดูเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง Framework ยอดนิยม
- Ionic:
- คุณสมบัติ: ใช้ HTML, CSS และ JavaScript ในการพัฒนา
- ประโยชน์: มีบริภูทธิ์สูง, สามารถทำให้แอปมีความรวดเร็ว และมีพื้นฐานของการออกแบบที่เรียบร้อย
- React Native:
- คุณสมบัติ: พัฒนาด้วย JavaScript และใช้ส่วนประกอบแบบ Native
- ประโยชน์: ประสิทธิภาพสูง, สามารถเข้าถึงฟีเจอร์ของมือถือได้เต็มที่ และมีความยืดหยุ่นในการพัฒนา
- Flutter:
- คุณสมบัติ: ใช้ภาษา Dart ในการพัฒนา
- ประโยชน์: มีความเร็วในการทำงาน, ออกแบบ UI ที่สวยงามและยืดหยุ่น และสามารถใช้ได้ทั้ง iOS และ Android
- PhoneGap/Cordova:
- คุณสมบัติ: ใช้ HTML, CSS, และ JavaScript
- ประโยชน์: สามารถเข้าถึง API ของมือถือได้ง่าย และมีปลั๊กอินหลายตัวที่ช่วยเสริมฟังก์ชั่น
เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชันไฮบริดเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแยกสำหรับแต่ละระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
มาถึงตรงนี้ ใครที่เริ่มสนใจที่จะพัฒนา Mobile Application โดยใช้ Hybrid Application Framework แต่ไม่รู้จะเริ่มที่ไหน หรือเริ่มอย่างไรดี ทาง Skooldio ขอแนะนำให้ลองดู คอร์สออนไลน์ Flutter Pack From Basic to Advanced ที่จะสอนการพัฒนา Flutter ตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มตั้งแต่ ภาษา Dart ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียน Flutter จนไปถึงการ Debug, การ Deploy, วิธีการ Submit Application ขึ้น App Store และ Play Store และ การ Maintain application ให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่า From Zero to Hero ครบในที่เดียว
ข้อดีของ Hybrid Application
ทีนี้ อะไรกันที่ทำให้ Hybrid Application กำลังเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น เรามาดูข้อดีหลัก ๆ ของ Hybrid Application กันดีกว่า ว่าจะถูกใจสายพัฒนา Application ขนาดไหน
- Write Once, Run Anywhere: การพัฒนา Hybrid Application เพียงครั้งเดียว โค้ดชุดนั้น สามารถนำไปใช้ได้บนแทบจะทุก Platforms ที่เราคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็น Web Application, iOS Application, Android Application หรือบน Platform อื่นๆ เช่น Windows หรือ macOS ซึ่งทีมนักพัฒนาขององค์กรคุณเพียง 1 ทีม ก็เพียงพอต่อการพัฒนา Application จากปกติที่จะต้องมีทีมนักพัฒนา 1 ทีม ต่อ 1 Platform
- Use the Talent You Already Have: การพัฒนา Hybrid Application นั้น ใช้ภาษาที่คุ้นเคยกับนักพัฒนาอยู่แล้ว เช่น HTML, CSS, JavaScript ซึ่งไม่เสียทั้งเวลา และทรัพยากรในการพัฒนาบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อรองรับแต่ละ Platform ที่เราต้องการ
อ้างอิงจากสถิติของ Stack Overflow Survey 2020 พบว่า Community ของ Web Developer นั้นใหญ่เกือบ 10 เท่าเมื่อเทียบกับจำนวนนักพัฒนา Native Application อีกทั้งภาษายอดนิยมของนักพัฒนาอันดับ 1 ก็ยังเป็น JavaScript (67.7%) และอันดับ 2 คึอ HTML/CSS (63.1%) อีกด้วย
- Deliver Great User Experience Across Platforms: ตัว Hybrid Application สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้ที่ดี และเท่ากันให้กับทุกคน และทุก Platform (Brand Consistency) โดยไม่ต้องคำนึงถึง Platform ต่าง ๆ มากนัก ซึ่งรวมถึงการอัปเดต Application เวอร์ชั่นใหม่ที่สามารถทำได้พร้อมกันในทุก Platform อีกด้วย
- Build for the Future: Web เป็นเทคโนโลยีที่พิสูจน์แล้วว่า มีความเสถียรสูง และก็มีการพัฒนาอยู่เสมอ การที่เราพัฒนา Application ด้วย Web Standard นั้น เราสามารถมั่นใจได้ว่า Application ของเราจะไม่ตกยุค เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา ก็มักจะมาพร้อมกับการเชื่อมต่อตาม Web Standard ด้วย โดยเราสามารถเลือก Backend ที่จะเชื่อมต่อได้หลากหลาย หรือ Frontend Framework ที่สามารถเลือกได้ตามใจชอบ
โดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่า จะไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลย ถ้าหลาย ๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็น องค์กรขนาดใหญ่, SME หรือ Start-up นั้น จะเริ่มหันมาสนใจ การพัฒนาในรูปแบบ Hybrid Application มากขึ้น เพราะทั้งประหยัดเวลาในการสร้างของ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขยายทีม ในขณะเดียวกันก็สามารถปล่อยของ หรือรับงานได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น
ในปัจจุบันนี้ การเพิ่มทักษะการพัฒนา Hybrid Application ที่องค์กรต่าง ๆ สนใจ และมองหาอยู่ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถจะเพิ่มโอกาสในการสมัครงานได้ โดยสิ่งต่าง ๆ ที่ควรรู้ในการสร้าง Mobile Application ด้วย Hybrid Application Framework นั้นถูกรวบรวมอยู่ใน คอร์สออนไลน์ Flutter Pack From Basic to Advanced ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน ทำให้ถึงแม้จะไม่มีประสบการณ์ในการทำ Mobile Application มาก่อน แต่เพียงแค่มีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมมาบ้าง ก็จะสามารถต่อยอดเติมทักษะใหม่ ๆ มาเสริมโปรไฟล์ให้แน่นขึ้น เพื่อเป็น resume ที่น่าสนใจที่สุดตอนสมัครงานได้แล้ว
อย่างไรก็ตามทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดี และข้อเสีย Hybrid Application ก็เช่นกัน เรามาดูข้อเสียที่นักพัฒนาควรระวังกันหน่อยดีกว่า
ข้อเสียของ Hybrid Application
- System Overhead: ประสิทธิภาพในการทำงานของ Hybrid Application ในการทำงานหนัก ๆ เช่นงาน Graphic ที่ต้องการการ Render ที่สูงจะยังด้อยกว่า Native Application
- Plug-In Management: การที่ Hybrid Application จะเข้าถึง function ของ Native ได้ ต้องเข้าถึงผ่าน Plug-In ซึ่ง การใช้ Plug-In ที่เยอะมาก ๆ หมายถึงความซับซ้อนของโค้ด (Code Complexity) ก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
- Third-Party Dependence: การพัฒนา Hybrid Application นั้น Function หรือ Component ต่าง ๆ ของ Framework ที่ใช้พัฒนา จะขึ้นอยู่กับนักพัฒนา Framework เหล่านั้นเลยว่าจะพัฒนาในส่วนไหนบ้าง
เราได้ดูทั้งข้อดี และข้อเสียของ Hybrid Application กันไปแล้ว จากการวิเคราะห์ทั้งข้อดี และข้อเสีย เราขอสรุปคร่าว ๆ มาให้ว่า ใครกันนะ ที่เหมาะกับการพัฒนา Application แบบ Hybrid บ้าง
Hybrid Application เหมาะกับใครบ้าง ?
Hybrid Application นั้นเหมาะกับ Developers ในแทบจะทุกสายงาน ไม่ว่าจะเป็น Front-End Developer, Software Engineer / Software Developer, Web Programmer, Web Developer ทั้งนี้ ถ้าแบ่งตามความสนใจ รวมถึงประโยชน์ของตัว Hybrid Application เองโดยรวม ๆ ก็อาจจะแบ่งได้ประมาณ 4 ข้อ ดังนี้
- ผู้ที่ต้องการพัฒนา Application ที่ไม่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการทำงานจาก Hardware มากนัก เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรตนเอง โดยไม่เสียประสบการณ์การใช้ของ User และต้องการความรวดเร็วในการพัฒนา แต่ไม่ได้ผลิต Application ด้าน เกม หรือ Application ที่เกี่ยวข้องกับ Graphic สูง ๆ
- ผู้ที่ต้องการพัฒนา Application เพื่อใช้กันเองภายในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรโดยรวมให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึง Platform ของคนในองค์กร
- องค์กร หรือบริษัท ที่ต้องการเริ่มพัฒนา Application ที่สามารถรันได้บนทุก Platforms ที่สำคัญ ๆ แต่มีทีมนักพัฒนาที่ค่อนข้างเล็กมาก และยังไม่มีแผน หรือ งบประมาณ ในการขยายทีมในช่วงนี้
- ผู้ที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการสมัครงาน ในการทำงาน หรือโอกาสใหม่ ๆ ในสายอาชีพที่ตัวเองทำอยู่ ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เติมทักษะใหม่ ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูงในช่วงนี้
ถ้าอยากพัฒนา Application ที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ง่ายต่อการอัปเดต และใช้ทรัพยากรไม่สิ้นเปลือง Hybrid Application น่าจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจะตอบโจทย์ และน่าสนใจที่สุดแล้วในช่วงเวลานี้
สุดท้ายนี้ ใครสนใจอยากได้รับบทความดี ๆ แบบนี้ส่งตรงถึงอีเมลคุณ ลงทะเบียนรับ Skooldio Newsletter ไว้ได้เลยวันนี้! เราจะส่งทุกสาระที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือที่กำลังฮิต หรือ เทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยม รวมไปถึง คอร์สใหม่ ๆ ที่จะช่วยอัพสกิลคุณในด้านต่าง ๆ ทั้ง Soft Skills และ Hard Skills ตลอดจนโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ไม่ควรพลาด คัดสรรมาเป็นอย่างดี โดยทีมงาน Skooldio!