UX Writing คืออะไร

UX Writing คืออะไร? ทำไมต้องรู้จักคำนี้ด้วยนะ?

คุณอาจจะเคยผ่านการใช้งาน Application มากหน้าหลายตาในแต่ละวัน ซึ่งแอปฯ บางตัวก็ทำให้คุณรู้สึกดีตลอดการใช้งาน เข้าแล้วไม่อยากออก เข้าแล้วอยากเข้ามาใช้บ่อยๆ ทุกวัน แต่กลับกันกับแอปฯ บางตัวที่ทำให้คุณหงุดหงิดใจตลอดการใช้งาน อยากออกแทบตาย แต่ออกไม่ได้เพราะไม่มีทางเลือก เจอปัญหาก็ไม่มีการอธิบายให้เข้าใจ สร้างประสบการณ์สุดแย่ให้ผู้ใช้งาน 

ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเลือกใช้ ‘ภาษา’ บน Product ที่ไม่ชัดเจน และเข้าใจยาก ส่งผลให้เกิดความรู้สึกไม่ดีแก่ผู้ใช้งาน จน Product เริ่มไม่น่าไว้วางใจ และอาจทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลิกใช้งานต่อได้ 

ดังนั้นการจะออกแบบ ‘ภาษา’ บน Digital Product ให้ตอบโจทย์ จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะสำคัญที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดอย่าง UX Writing 

มาดูกันเลยว่า UX Writing คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร พร้อมตัวอย่างที่น่าสนใจ 

UX Writing คืออะไร

ก่อนจะไปถึงว่า UX Writing คืออะไร ต้องเข้าใจถึงคำว่า UX ก่อนเพราะคำนี้อาจไม่คุ้นหูสำหรับหลายคน

UX หรือ User Experience คือประสบการณ์ของผู้ใช้งานต่อผลิตภัณฑ์ หรืออย่างง่ายก็คือ ความรู้สึกของผู้ใช้งานระหว่างใช้งาน Product นั่นเอง โดยความรู้สึกนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น รู้สึกใช้งานง่าย รู้สึกสะดวกสบาย รู้สึกไม่ติดขัด หรือรู้สึกไม่ชอบ ใช้งานยาก เป็นต้น ซึ่งหัวใจสำคัญของการพัฒนา User Experience คือการสร้าง Product ออกมาให้ผู้ใช้งานรู้สึกดี และแฮปปี้ที่สุดขณะใช้งาน 

หรือสามารถทำความเข้าใจกับคำนี้ให้มากขึ้นกับบทความด้าน UX จาก Skooldio อย่าง การย้ายสายงานมาเป็น UX หรือ ความสำคัญของ UX ต่อองค์กร เป็นต้น

ดังนั้น UX Writing คือการออกแบบ หรือการเขียนข้อความบน Digital Products อย่าง Application หรือ Website เพื่อสื่อสาร และนำทางผู้ใช้งานให้สามารถใช้งาน Products ได้อย่างราบรื่น และไม่ติดขัด หรืออีกอย่างคือ เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีนั่นเอง 

UX Writing คืออะไร

UX Writer คือใคร

UX Writer คือผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบข้อความ หรือถ้อยคำบน User Interface ของ Digital Product หรือเรียกอีกอย่างว่า Microcopy ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ Product ได้อย่างราบรื่น มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด

แต่ว่าอาชีพนี้แตกต่างจาก Copywriter ยังไงนะ? เพราะก็ใช้ชื่อว่านักเขียนเหมือนกัน แบบนี้ทำงานแทนกันได้นะสิ

มาดูความแตกต่างของ 2 อาชีพนี้กันดีกว่า

ความแตกต่าง Copywriter และ UX Writer

Copywriter vs UX writer

ถึงจะใช้คำว่า Writer เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกันอยู่นะ

UX Writer คือนักเขียนที่มีหน้าที่ในการออกแบบ ‘ถ้อยคำ’ หรือ ‘ข้อความ’ บน User Interface (UI) หรือบนหน้าจอของ Digital Product อย่าง Application หรือ Website เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน ไม่ให้เกิดความสับสน และสร้างประสบการณ์การใช้งาน (User Experience) ที่ดีทุกขั้นตอน

ส่วน Copywriter คือนักเขียนที่ออกแบบ ‘ถ้อยคำ’ หรือ ‘ข้อความ’ เชิงการตลาด (Marketing) บนสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Offline หรือ Online เพื่อกระตุ้น โน้มน้าวผู้รับสารให้ตัดสินใจกระทำการบางอย่าง ที่แบรนด์ หรือผู้เขียนคาดหวังไว้

ทักษะ UX Writing เหมาะกับใครบ้าง?

แล้วแบบนี้ทักษะการออกแบบข้อความบน User Interface นั่นเหมาะกับใครบ้าง อาชีพแบบไหนกันที่ควรรู้จักสิ่งเหล่านี้ 

อาชีพที่ควรรู้จัก หรือมีทักษะนี้ก็คือ 

  • UX Writer ที่ต้องการเรียนรู้ และทำความเข้าใจใน Users และหลักการการเขียน UX Writing ให้มากขึ้น
  • UX/UI Designer ที่ต้องลงมือสร้าง UX ที่ดีผ่านการใช้ภาษาบน Product ต่าง ๆ แต่ยังขาดทักษะในด้านการเขียน
  • Marketer / Copywriter ที่ต้องช่วยฝ่าย UX / UI designer หรือ Developer ทำการเขียน ข้อความบน Product หรือต้องการย้ายสายงานมาเป็น UX Writer แต่ยังขาดความเข้าใจใน User Experience และหลักการเขียนที่สอดคล้องกับ Product
  • Product Owner / Product Manager ที่ต้องลงมือจัดการส่วน UX Writing บน Products เอง แต่ไม่มีประสบการณ์ หรือทักษะด้านการใช้ภาษาที่ตอบโจทย์ Products และ Users
  • Front-end Developer / Developer ที่ต้องทำหน้าเว็บ พร้อมพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่กันไป และต้องการทำความเข้าใจใน Users และวิธีการสร้าง User Experience ที่ดีจากการเลือกใช้ Wording บนหน้าเว็บไซต์

UX Writing สำคัญอย่างไร 

ลองนึกภาพว่าคุณดาวน์โหลด Application หนึ่งมาใช้งาน และค้นพบว่าบนหน้าแอปฯ​ ไม่มีบอกข้อความอะไรเลย มีเพียงแค่ Icon กับปุ่มที่ไม่มีข้อความบอกชัดเจนว่าควรเริ่มต้นใช้งานจากตรงไหน และต้องทำอะไรเป็นขั้นตอนต่อไป รับรองว่าคุณจะลบแอปฯ ทิ้งภายในไม่กี่วินาที 

UX Writing มีความสำคัญต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่เหมือนเป็น ‘ผู้นำทาง’ ที่ไม่มีเสียง แต่ปรากฎณ์ตัวอยู่บนหน้า User Interface (UI) เพื่อคอยชี้ทางให้ผู้ใช้งานตลอดเวลา โดยประโยชน์หลักของศาสตร์ UX Writing นั่นประกอบไปด้วย 

  • UX Writing ช่วยให้ User Experience ลื่นไหล 
  • UX Writing ช่วยสร้างความมั่นใจให้ Users ตลอดการใช้งาน
  • UX Writing กระตุ้นการตัดสินใจของ Users
  • UX Writing สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ Users 

UX Writing ช่วยให้ User Experience ลื่นไหล

เพราะว่าการที่ Product ของคุณมีการออกแบบข้อความ หรือการเลือกใช้ถ้อยคำที่ดี บอกขั้นตอนอย่างชัดเจน เป็นระบบ ไม่เกิดความสับสนให้แก่ผู้ใช้งาน รับรองว่าจะส่งผลให้ประสบการณ์ (User Experience) ขณะใช้งานของพวกเขานั้นราบรื่น ไม่มีสะดุด ไม่หลุดไปไหนระหว่างทางแน่นอน 

UX Writing ช่วยสร้างความมั่นใจให้ Users ตลอดการใช้งาน

ลองคิดดูว่าถ้าคุณกำลังใช้งาน Application และอยู่ดีๆ ก็ดันใช้งานไม่ได้ซะงั้น โดยไม่มีการแจ้งเตือนว่าเกิดอะไรขึ้น คุณคงจะหงุดหงิดน่าดู หรือยิ่งไปกว่านั้นถ้าเกิดเป็น Application ที่เกี่ยวกับการเงิน หรือเรื่องสำคัญ คงจะสร้างความหวาดกลัวพอสมควร 

ดังนั้นการที่ Product มี UX Writing ที่ดี คอยแจ้งผู้ใช้งานตลอดว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร และควรทำอย่างไรต่อ จะช่วยสร้างความมั่นใจ และความไว้ใจให้กับผู้ใช้งานได้มากขึ้น

UX Writing กระตุ้นการตัดสินใจของ Users

การเลือกใช้ภาษาบน Product ที่ดีจะช่วยให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความสับสน ลังเลน้อยลง และตัดสินใจสร้าง Action บางอย่างกับ Product ทำให้ความต้องการของพวกเขาสำเร็จ และในขณะเดียวกันก็เป็นผลดีกับเจ้าของ Product ที่สามารถ Convert ผู้ใช้งานให้ลงมือตัดสินใจจากประโยชน์ของการเลือกใช้ภาษาที่ดี 

UX Writing สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับ Users

หลายคนอาจคุ้นชินกับภาษาบน Product ที่อ่านแล้วรับรู้ได้ว่ากำลังสื่อสารกับหุ่นยนต์ ไม่มีความรู้สึก แข็งทื่อ ไม่น่าสนใจสักเท่าไหร่ ทำให้อาจเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ค่อยอยากใช้งาน แต่ UX Writing สามารถช่วยเพิ่มความเป็น ‘มนุษย์’ ให้กับถ้อยคำต่างๆ บน Product ได้ เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ และความรู้สึกที่ดีแก่ผู้ใช้งาน

ตัวอย่าง UX Writing ที่มักพบเห็นบ่อย

คุณอาจจะเคยเห็นการเลือกใช้คำที่กระตุ้น Action บน Website หรือ Application ประจำวันอย่าง Sign up, Sign in, Next, Cancel ตลอดจนไปถึงข้อความสำคัญๆ ที่ระบุปัญหา และวิธีแก้ไข เช่น Could not load the page หรือ Try Again เป็นต้น

ซึ่งข้อความเหล่านี้นั้นดูเหมือนจะไม่มีผลกระทบ แต่ความจริงนั้นส่งผลกับ User Experience ของผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก มีหน้าที่ในการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้ใช้ Product ให้พวกเขารู้สึกว่าใช้งานง่าย และไม่รู้สึกแย่ขณะใช้งานจนเลิกใช้งาน Product ไปนั่นเอง 

มาดูตัวอย่าง UX Writing ที่มักพบเจอบ่อยบน Application ชื่อดังกันดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น

  • ตัวอย่าง UX Writing จาก Facebook
  • ตัวอย่าง UX Writing จาก Shopee
  • ตัวอย่าง UX Writing จาก Grab
  • ตัวอย่าง UX Writing จาก Spotify 

ตัวอย่าง UX Writing จาก Facebook

ตัวอย่าง UX Writing จาก Facebook

ตัวอย่าง UX Writing จาก Facebook

หลายๆ คนคงได้มีโอกาสใช้สิ่งนี้ทุกวัน หรือแม้กระทั่งตอนที่คุณอ่านโพสต์นี้อยู่ด้วย นั่นก็คือ Facebook นั่นเอง

Facebook เลือกที่จะใช้ประโยค What’s on your mind? ในช่องที่ให้ผู้ใช้เขียนโพสต์ เพื่อสร้างการกระตุ้นที่ดูเป็นมิตร และดูมีความเป็น “คน แทนที่จะเป็นกล่องเปล่าๆ การเขียนข้อความแบบนี้ทำให้ผู้ใช้รู้สึกอยากแบ่งปัน ส่งต่อเรื่องราวที่พบเจอ ให้กับเพื่อนๆ ได้รับรู้

ตัวอย่าง UX Writing จาก Shopee

ตัวอย่าง UX Writing จาก Shopee

ตัวอย่าง UX Writing จาก Shopee

โดย UX Writing ของทาง Shopee นั้นเลือกที่จะใช้ Notification ที่น่าดึงดูด เอาใจสายโปรโมชั่น เชิญชวนให้ผู้ใช้รู้สึกมีความต้องการที่จะเข้ามาซื้อของในแอป

สามารถสังเกตุได้จากข้อความที่เขียนว่า ‘เก็บโค้ดของคุณด่วน!’ เพื่อสร้างความเร่งรีบ กระตุ้นให้ผู้ใช้งานตัดสินใจสร้าง Action บางอย่าง

ตัวอย่าง UX Writing จาก Grab

ตัวอย่าง UX Writing จาก Grab

ตัวอย่าง UX Writing จาก Grab

Grab เป็นอีกแอปพลิเคชันหนึ่ง ที่เราทุกคนต้องนึกถึงเวลาหิว และต้องการที่จะสั่งอาหาร

Grab เองก็รู้จุดประสงค์ของผู้ใช้งานของตัวเอง และเลือกที่จะใช้ประโยค “What are you craving?” เพิ่มลงไปในช่องค้นหาร้านอาหาร เพื่อเป็นการกระตุ้น ความรู้สึกของผู้ใช้ ที่กำลังหิว ให้รีบสั่งอาหาร

ตัวอย่าง UX Writing จาก Spotify

ตัวอย่าง UX Writing จาก Spotify

ตัวอย่าง UX Writing จาก Spotify

การเลือกใช้ UX Writing ของ Spotify ถือว่าโดดเด่น เพราะจากตัวอย่างคือหน้า User Interface ในช่วงที่ไม่มี Wifi หรือสัญญาณโทรศัพท์ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถ Stream เพลงได้ แต่ก็ไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกหลงทาง เพราะทาง Spotify ได้เสนอทางเลือกผ่านการใช้ข้อความ ‘Search Download’ และป้องกันความสับสนด้วยการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ‘Couldn’t load the page’ และนำทางผู้ใช้งานให้ไปยังขั้นตอนถัดไปคือ ‘Try again?’ 

นี้เป็นเพียงตัวอย่าง UX Writing จาก Application ที่เรามั่นใจว่าคุณอาจพบเห็นบ่อย และความจริงแล้วมีอีกหลาย Application หรือ Website ที่มีการออกแบบ UX Writing ที่น่ารัก น่าสนใจ ดึงดูดให้ชวนให้งาน

สรุป

UX Writing นับว่าเป็นทักษะใหม่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุค Digital ที่ไม่ว่าใครใครก็ต่างมุ่งมั่นผลิต Product ออกมาให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน โดยอาจลืมไปว่าการมี Product ที่ง่าย และสบายนั้นไม่พออีกต่อไป แต่ต้องสร้าง Product ที่มีการสื่อสารชัดเจน ครบถ้วน และจะดีมากถ้าช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ให้ผู้ใช้งานด้วย 

คอร์สเรียน UX Writing สำหรับมือใหม่!

แต่ว่าการออกแบบข้อความเหล่านี้ หรือเริ่มต้นฝึกฝนทักษะ UX Writing เพื่อนำไปพัฒนา และเสริมความเจ๋งให้ Product ต้องเริ่มจากตรงไหน? เพราะทักษะนี้ถือว่าใหม่มาก 

ตอนนี้คุณสามารถเริ่มต้นเรียนรู้ทักษะการออกแบบข้อความบน Product ได้แล้วกับ คอร์สออนไลน์ UX Writing ที่ Skooldio สอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน UX Writing 

คอร์สออนไลน์ที่จะพาคุณปูพื้นฐานตั้งแต่ 0 ไม่ต้องมีทักษะมาก่อนก็สามารถเรียนได้ โดยเนื้อหาภายในประกอบไปด้วย 

  • ทำความเข้าใจว่า UX Writing คืออะไร 
  • ความสำคัญของ UX Writing ต่อธุรกิจ และผู้ใช้งาน
  • ความแตกต่างของสายอาชีพ Copywriter และ UX Writer
  • เรียนรู้กระบวนการเขียน UX Writing พร้อมยกตัวอย่าง UX Writing Patterns ทั้งไทย และต่างประเทศ
  • อธิบายหลักจิตวิทยาการออกแบบข้อความบน User Interface 
  • พร้อมแบบฝึกหัด ทบทวนความเข้าใจ

เมื่อเรียนจบคอร์ส คุณจะสามารถ 

  • เข้าใจความต่างระหว่าง UX Writing กับ Copywriting ถึงหลักการ และความสำคัญที่แตกต่างกัน
  • เริ่มสร้างกระบวนการเขียนบน User Interface (UI) ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
  • แยกแยะการเลือกใช้ข้อความที่ ‘ดี’ และ ‘ไม่ดี’ บน User Interface
  • นำเอาหลักการเขียน UX writing ที่ดีไปประยุกต์กับ Website หรือ Application ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่สุด

More in:Design

Comments are closed.