Table of Contents
มีไอเดียทำฟีเจอร์เยอะมาก ควร Prioritize ยังไงดี ?
หลายทีมคงเจอปัญหา เมื่อมีไอเดียในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้ามามากมาย ใครที่ทำงานใน Product Team โดยเฉพาะ Product Manager หรือ Product Owner จะต้องมีหน้าที่ในการจัดลำดับความสำคัญของ Product Backlog ว่าควรหยิบฟีเจอร์ไหนมาพัฒนาก่อน
ก่อนอื่นมารู้จัก Product Backlog กัน
Product Backlog คือ งานค้างหรือ Task ที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อพัฒนา Product ให้สมบูรณ์และตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น โดยสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Scrum Framework ซึ่งเป็นการทำงานแบบ Agile
โดย Backlog จะถูกเรียงและหยิบไปพัฒนาตามลำดับความสำคัญ แล้วปกติ PM หรือ PO ใช้เกณฑ์หรือมีวิธีการจัดเรียงอย่างไร ? ซึ่งในบทความนี้เราจะแนะนำ Method ที่ใช้จัดเรียงลำดับความสำคัญมีทั้งหมด 5 Method ดังนี้
- Stack Ranking
- MoSCoW
- Kano Model
- Cost of Delay (CoD)
- Weighted Shortest Job First (WSJF)
ตัวอย่าง Method ที่ใช้ในการจัดเรียง Product Backlog
1. Stack Ranking
เป็นการจัดเรียงที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด เป็นการเอา Task มาเรียงเป็นเส้นตรง และจัดตามความสำคัญมากสุดไปน้อยสุด
ข้อดี : เป็นกระบวกการที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา เห็นลำดับขั้น Hierarchy ความสำคัญชัดเจน เหมาะกับทีมเล็ก ๆ หรือช่วงเริ่มต้นในการทำ Product ที่ยังไม่ซับซ้อน
ข้อเสีย : วิธีนี้จะเริ่มเรียงลำดับยากขึ้น หาก Product เริ่มมีความซับซ้อน ละทีมพัฒนามีขนาดใหญ่ขึ้น
2. MoSCoW
เป็นวิธีการจัดลำดับความสำคัญโดยจัดหมวดหมู่ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Must have, Should have, Could have และ Won’t have โดยแน่นอนว่าฟีเจอร์ที่อยู่ในกลุ่ม Won’t have เราจะทิ้ง ไม่หยิบมาทำ และมาโฟกัสที่กลุ่ม Must have หรือ Should have
ข้อดี: เป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน
ข้อเสีย: ในการแบ่งกลุ่มอาจจะมีความคลุมเครือในการแบ่งประเภท หากไม่มีเกณฑ์การวัดที่เหมาะสม
3. Kano Model
เป็นรูปแบบการจัดเรียงที่อิงตามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (User Centricity) สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 5 ประเภทคือ
1.Excitement feature: ฟีเจอร์ที่ User อาจจะไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับ หากหยิบไปทำก็จะสร้างความพึงพอใจได้มาก (Delight) แต่หากเลือกไม่ทำ User ก็ไม่ได้มีความรู้สึกแง่ลบต่อ Product
2.Performance feature: ฟีเจอร์ที่ผลลัพธ์แปรผันตรงกับความพึงพอใจของ User ยิ่งทำออกมาได้ดี User ยิ่งพึงพอใจ
3.Basic feature: ฟีเจอร์ที่เป็นมาตรฐาน (Fundamental) ที่ต้องมี หากไม่มี User จะรู้สึกแง่ลบต่อ Product แต่เมื่อพัฒนามาจนถึงจุดนึง ก็จะถึงจุดอิ่มตัวที่พัฒนาแล้วก็อาจจะไม่ได้เพิ่มความรู้สึกพึงพอใจให้ User ได้
4.Indifferent feature: ฟีเจอร์ที่ต่อให้พัฒนาขึ้นมาก็อาจจะไม่ได้สร้างความพึงพอใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ User รู้สึกในแง่ลบกับฟีเจอร์นั้น
5.Reverse feature: ฟีเจอร์ที่พัฒนาออกมา นอกจากจะไม่ได้ทำให้ User รู้สึกพึงพอใจแล้ว กลับกันอาจสร้างความรู้สึกแง่ลบต่อการใช้งาน ฟีเจอร์นี้ก็จะคัดออกจาก Product backlog
ข้อดี : ทำให้โฟกัสที่ความพึงพอใจและ Impact ที่จะเกิดกับ User เป็นหลัก เหมาะกับ Product ที่เน้นสร้าง Positive Emotional ให้กับผู้ใช้งาน
ข้อเสีย : ทีมต้องมีกาารทำ Research และทำความเข้าใจ User กลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง
4. Cost of Delay หรือ CoD
เป็นอีกรูปแบบที่นิยมในการนำมาจัดเรียง Backlog โดยวิธี CoD จะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายต่อธุรกิจ ที่เกิดจากการปล่อยฟีเจอร์นั้นช้าหรือไม่ได้นำฟีเจอร์นั้นปล่อยสู่ตลาด
ข้อดี : ทำให้ทีมโฟกัสฟีเจอร์ที่ Impact ต่อผลกำไร/ขาดทุนของธุรกิจ และทีมสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญของ Backlog ได้ในเชิงข้อมูลตัวเลข ซึ่งสามารถจับต้องได้มากกว่า 3 Method ที่กล่าวไป
ข้อเสีย : ต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำและใช้เวลานานในการวิเคราะห์ CoD ออกมาก ซึ่งทำให้วิธีนี้เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่และ Product ที่มีความซับซ้อนประมาณหนึ่ง
5. Weighted Shortest Job First (WSJF):
เป็นการจัดเรียงโดยพิจารณาจาก Cost of delay (CoD) และขนาดของงาน (Job Size) เพื่อให้ทีมสามารถหยิบสิ่งที่สำคัญและเกิด Impact โดยใช้ทรัพยากรได้น้อยที่สุด
ข้อดี : ทีมสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าสิ่งที่ Prioritize มานั้น จะทำให้เกิด Impact มากที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
ข้อเสีย : เช่นเดียวกับ CoD นั่นคือ การคำนวณที่แม่นยำนั้นใช้เวลานาน ซึ่งเหมาะกับองค์กรใหญ่ หรือทีมที่ใช้ Scaled Agile Framework (SAFe)
วิธีจัดเรียง Backlog มีหลากหลายกระบวนการ ทีมควรเลือกหยิบไปใช้ตามความเหมาะสมของขนาดทีม และ Product ที่เราทำอยู่ กระบวนการเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ทำให้เรามั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าฟีเจอร์ที่หยิบไปพัฒนาจะสร้าง Impact และคุ้มค่าที่จะลงมือทำ
ทั้งนี้ `การเข้าใจ` ใน Product ที่เราทำ และการมี Vision และ Strategy ที่ชัดเจน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟีเจอร์ที่เราพัฒนาออกมานั้นประสบความสำเร็จและตอบโจทย์ User มากที่สุด
หากใครอ่านมาถึงตรงนี้ อยากก้าวสู่สายงาน Product Manager ที่ Skooldio เรามีเปิดคอร์สออนไลน์ Intro to Product Management เรียนรู้แบบ Shortcut ลดระยะเวลาในการเรียนรู้ให้คุณสามารถเข้าใจศาสตร์นี้ได้อย่างครอบคลุม พร้อมก้าวสู่สายงาน PM อย่างมั่นใจ