Cover-Product Backlog-Skooldio Blog

มีไอเดียทำฟีเจอร์เยอะมาก ควร Prioritize ยังไงดี ?

หลายทีมคงเจอปัญหา เมื่อมีไอเดียในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้ามามากมาย ใครที่ทำงานใน Product Team โดยเฉพาะ Product Manager หรือ Product Owner จะต้องมีหน้าที่ในการจัดลำดับความสำคัญของ Product Backlog ว่าควรหยิบฟีเจอร์ไหนมาพัฒนาก่อน

5 วิธีจัดเรียง Product Backlog ที่ PM/PO ควรรู้!

ก่อนอื่นมารู้จัก Product Backlog กัน

Product Backlog คือ งานค้างหรือ Task ที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อพัฒนา Product ให้สมบูรณ์และตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น โดยสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Scrum Framework ซึ่งเป็นการทำงานแบบ Agile

โดย Backlog จะถูกเรียงและหยิบไปพัฒนาตามลำดับความสำคัญ แล้วปกติ PM หรือ PO ใช้เกณฑ์หรือมีวิธีการจัดเรียงอย่างไร ? ซึ่งในบทความนี้เราจะแนะนำ Method ที่ใช้จัดเรียงลำดับความสำคัญมีทั้งหมด 5 Method ดังนี้

  • Stack Ranking
  • MoSCoW
  • Kano Model
  • Cost of Delay (CoD)
  • Weighted Shortest Job First (WSJF)

ตัวอย่าง Method ที่ใช้ในการจัดเรียง Product Backlog

1. Stack Ranking 

เป็นการจัดเรียงที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด เป็นการเอา Task มาเรียงเป็นเส้นตรง และจัดตามความสำคัญมากสุดไปน้อยสุด

ข้อดี : เป็นกระบวกการที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา เห็นลำดับขั้น Hierarchy ความสำคัญชัดเจน เหมาะกับทีมเล็ก ๆ หรือช่วงเริ่มต้นในการทำ Product ที่ยังไม่ซับซ้อน

ข้อเสีย : วิธีนี้จะเริ่มเรียงลำดับยากขึ้น หาก Product เริ่มมีความซับซ้อน ละทีมพัฒนามีขนาดใหญ่ขึ้น 

Product Backlog Prioritization | Stack Ranking

https://medium.com/left-travel/product-prioritization-stacked-ranking-97f21930b427

2. MoSCoW

 เป็นวิธีการจัดลำดับความสำคัญโดยจัดหมวดหมู่ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Must have, Should have, Could have และ Won’t have โดยแน่นอนว่าฟีเจอร์ที่อยู่ในกลุ่ม Won’t have เราจะทิ้ง ไม่หยิบมาทำ และมาโฟกัสที่กลุ่ม Must have หรือ Should have 

ข้อดี: เป็นอีกวิธีที่ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน เข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน 

ข้อเสีย: ในการแบ่งกลุ่มอาจจะมีความคลุมเครือในการแบ่งประเภท หากไม่มีเกณฑ์การวัดที่เหมาะสม

3. Kano Model

เป็นรูปแบบการจัดเรียงที่อิงตามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (User Centricity) สามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 5 ประเภทคือ 

1.Excitement feature: ฟีเจอร์ที่ User อาจจะไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับ หากหยิบไปทำก็จะสร้างความพึงพอใจได้มาก (Delight) แต่หากเลือกไม่ทำ User ก็ไม่ได้มีความรู้สึกแง่ลบต่อ Product 

2.Performance feature: ฟีเจอร์ที่ผลลัพธ์แปรผันตรงกับความพึงพอใจของ User ยิ่งทำออกมาได้ดี User ยิ่งพึงพอใจ 

3.Basic feature: ฟีเจอร์ที่เป็นมาตรฐาน (Fundamental) ที่ต้องมี หากไม่มี User จะรู้สึกแง่ลบต่อ Product แต่เมื่อพัฒนามาจนถึงจุดนึง ก็จะถึงจุดอิ่มตัวที่พัฒนาแล้วก็อาจจะไม่ได้เพิ่มความรู้สึกพึงพอใจให้ User ได้ 

4.Indifferent feature: ฟีเจอร์ที่ต่อให้พัฒนาขึ้นมาก็อาจจะไม่ได้สร้างความพึงพอใจ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ User รู้สึกในแง่ลบกับฟีเจอร์นั้น 

5.Reverse feature: ฟีเจอร์ที่พัฒนาออกมา นอกจากจะไม่ได้ทำให้ User รู้สึกพึงพอใจแล้ว กลับกันอาจสร้างความรู้สึกแง่ลบต่อการใช้งาน ฟีเจอร์นี้ก็จะคัดออกจาก Product backlog 

ข้อดี : ทำให้โฟกัสที่ความพึงพอใจและ Impact ที่จะเกิดกับ User เป็นหลัก เหมาะกับ Product ที่เน้นสร้าง Positive Emotional ให้กับผู้ใช้งาน

ข้อเสีย : ทีมต้องมีกาารทำ Research และทำความเข้าใจ User กลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง

Product Backlog Prioritization | Kano Model

           

          4. Cost of Delay หรือ CoD 

          เป็นอีกรูปแบบที่นิยมในการนำมาจัดเรียง Backlog โดยวิธี CoD จะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายต่อธุรกิจ ที่เกิดจากการปล่อยฟีเจอร์นั้นช้าหรือไม่ได้นำฟีเจอร์นั้นปล่อยสู่ตลาด

          ข้อดี : ทำให้ทีมโฟกัสฟีเจอร์ที่ Impact ต่อผลกำไร/ขาดทุนของธุรกิจ และทีมสามารถเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญของ Backlog ได้ในเชิงข้อมูลตัวเลข ซึ่งสามารถจับต้องได้มากกว่า 3 Method ที่กล่าวไป

          ข้อเสีย : ต้องใช้การคำนวณที่แม่นยำและใช้เวลานานในการวิเคราะห์ CoD ออกมาก ซึ่งทำให้วิธีนี้เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่และ Product ที่มีความซับซ้อนประมาณหนึ่ง

          5. Weighted Shortest Job First (WSJF)

          เป็นการจัดเรียงโดยพิจารณาจาก Cost of delay (CoD) และขนาดของงาน (Job Size) เพื่อให้ทีมสามารถหยิบสิ่งที่สำคัญและเกิด Impact โดยใช้ทรัพยากรได้น้อยที่สุด 

          ข้อดี : ทีมสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าสิ่งที่ Prioritize มานั้น จะทำให้เกิด Impact มากที่สุด ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด 

          ข้อเสีย : เช่นเดียวกับ CoD นั่นคือ การคำนวณที่แม่นยำนั้นใช้เวลานาน ซึ่งเหมาะกับองค์กรใหญ่ หรือทีมที่ใช้  Scaled Agile Framework (SAFe)

          วิธีจัดเรียง Backlog มีหลากหลายกระบวนการ ทีมควรเลือกหยิบไปใช้ตามความเหมาะสมของขนาดทีม และ Product ที่เราทำอยู่ กระบวนการเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ทำให้เรามั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าฟีเจอร์ที่หยิบไปพัฒนาจะสร้าง Impact และคุ้มค่าที่จะลงมือทำ 

          ทั้งนี้ `การเข้าใจ` ใน Product ที่เราทำ และการมี Vision และ Strategy ที่ชัดเจน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟีเจอร์ที่เราพัฒนาออกมานั้นประสบความสำเร็จและตอบโจทย์ User มากที่สุด

          หากใครอ่านมาถึงตรงนี้ อยากก้าวสู่สายงาน Product Manager ที่ Skooldio เรามีเปิดคอร์สออนไลน์ Intro to Product Management เรียนรู้แบบ Shortcut ลดระยะเวลาในการเรียนรู้ให้คุณสามารถเข้าใจศาสตร์นี้ได้อย่างครอบคลุม พร้อมก้าวสู่สายงาน PM อย่างมั่นใจ 

          More in:Product

          Comments are closed.