เมื่อคุณพยายามสื่อสาร และอธิบายสไลด์ถึงประเด็นต่าง ๆ ที่หยิบมานำเสนอ วิธีการที่คุณสื่อสารมีความสำคัญพอ ๆ กับสิ่งที่คุณพูด เพราะไม่ว่าประเด็นที่คุณนำเสนอจะน่าสนใจ หากขาดการวางลำดับการนำเสนอที่ดี ประเด็นที่สำคัญก็อาจจะจมหายไปในข้อมูลปริมาณมหาศาลที่คุณเอามานำเสนอ ดังนั้น SCQA Framework จึงเป็นวิธีการจัดลำดับเรื่องเล่าที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ชม และช่วยให้เขาโฟกัสไปกับเมสเสจสำคัญที่คุณอยากนำเสนอมากที่สุดได้

SCQA Framework คืออะไร

SCQA Framework เป็นแนวคิดที่มีไว้เพื่อช่วยวางโครงเรื่องที่มีความซับซ้อนให้น่าสนใจ และดักความสนใจของผู้ฟัง โดยเป็น 1 ในแนวคิดที่ช่วยเปลี่ยนข้อมูลยาก ๆ ให้คนเข้าใจง่าย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ที่จะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีความสำคัญอย่างไร อะไรคือปัญหา รวมไปถึงเปิดประเด็นที่สำคัญ และคำตอบสำหรับเรื่องราวนั้น ๆ โดยแปลงข้อมูลที่ซับซ้อนหรือมีความ Technical ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ฟังจะย่อยและตีความได้ง่าย คิดค้นโดย

เพราะทุกเรื่องเล่า “เริ่มต้นด้วยกาลครั้งหนึ่ง ….” นี่อาจเป็นบทแรกที่ดีสำหรับการทำ Data Storytelling หรือการเล่าเรื่องด้วยข้อมูล เพราะสมองของมนุษย์นั้น ประมวลเรื่องราวผ่านการปะติดปะต่อแต่ละส่วนของข้อมูลเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ดังนั้นการจัดลำดับเรื่องราวของข้อมูลให้มีความต่อเนื่อง จึงเป็นส่วนสำคัญต่อการนำเสนอที่ดี เข้าใจง่าย และมีประสิทธิภาพ

SCQA ประกอบด้วยอะไรบ้าง

Barbara Minto ที่ปรึกษาของบริษัท McKinsey & Company และผู้แนะนำแนวคิดทั้ง SCQA และ The Pyramid Principle ได้สรุป 4 ขั้นตอนในการวางโครงเรื่องเล่าไว้ประกอบไปด้วย

  • S (Situation) ต้องเริ่มเล่าที่บริบทข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ทุกคนต้องรู้มาก่อนอยู่แล้ว โดยเราต้องรู้ว่าอะไรคือ Situation เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่าเราจะเล่าจุดไหน และทำให้ผู้ฟังเชื่อมโยงไปยังสเตปต่อไปร่วมกันได้
  • C (Complication) จากนั้นจึงควรพูดถึงว่า “ทำไม” สถานการณ์ที่เราเกริ่นไปนั้น ต้องได้รับความสนใจจากผู้ฟัง เล่าถึงความท้าทายหรือความซับซ้อนของปัญหา ซึ่งเป็นสเตปสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดคำถามในใจไปพร้อม ๆ กับเรา
  • Q (Question) เมื่อมาถึงตรงนี้ ผู้ฟังจะอยากรู้แล้วว่าเราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร ซึ่งคำถามที่เกิดจากผู้ฟัง อาจเป็นข้อสงสัยหรือคำถามถึงวิธีการแก้ไขปัญหา
  • A (Answer) สเตปนี้คือบทสรุปของเรื่องราวที่เรากำลังนำเสนอ โดยเป็นการตอบคำถามหรือบอกแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งการตอบคำถามหรือเสนอข้อเสนอแนะ ต้องจัดโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบปิรามิดที่ติดตามได้ง่าย โดยใช้ The Pyramid Principle เล่าประเด็นหลักที่ต้องการสื่อสารก่อน แล้วค่อยเชื่อมโยงกับรายละเอียดย่อยๆ

หลักการของ SCQA นั้นคือการทำให้กลุ่มผู้ฟังของคุณเข้าใจในหัวข้อที่คุณต้องการนำเสนอก่อนว่ามีความสำคัญอย่างไร โดยเริ่มจากการบอกเล่า “สถานการณ์” ที่คุ้นเคยกับพวกเขา ในส่วนของ “สภาวะปัญหา” เป็นช่วงที่ส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสำคัญของประเด็น หรือความเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไปปัญหา จนเกิดการ “ตั้งคำถาม” ว่าควรทำอย่างไรต่อ หรือเกิดขึ้นจากเหตุใดได้บ้าง เพื่อปิดท้ายด้วย “คำตอบ” ว่าสถานการณ์นี้เกิดจากอะไร หรือปัญหานี้ควรรับมืออย่างไรในที่สุด

เปลี่ยนการเล่าเรื่อง ให้มีลำดับขั้น

ไม่ว่าเรื่องราวที่คุณนำเสนอจะอยู่ในรูปแบบของภาพ ข้อความ หรือการบอกเล่า กลุ่มผู้ฟังมักพบปัญหาความยากในการตีความหมาย ต้องใช้พลังสมองในการถอดเอาข้อมูลเชิงลึก (Insights) หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับตัวเองออกมา การใช้ SCQA Framework จึงเป็นเหมือนแนวคิดที่ช่วยแบ่งเรื่องราวออกเป็น 4 ส่วน ที่จะช่วยรักษาบรรยากาศในการนำเสนอ และผู้ฟังเข้าใจบริบทของเรื่องราวมากขึ้น ผ่านการเล่าเรื่องอย่างมีลำดับ ไม่ว่าจะเป็น

  • เนื้อหากระชับ และสื่อสารได้ตรงจุด
    การแบ่งเรื่องราวออกเป็น 4 ส่วนที่แตกต่างกัน ช่วยจัดระเบียบความคิด ผ่านการวางโครงสร้างสื่อสารที่ชัดเจน และรัดกุม ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลแต่ละส่วนนั้นมีความชัดเจนมากพอ และได้รับข้อมูลที่แม่นยำ
  • ช่วยเพิ่มทักษะ Critical Thinking
    โดยเพิ่มกระบวยการคิดิย่างมีวิจารณญาณ ผ่านการวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อระบุสภาวะปัญหา เพื่อตั้งคำถามที่ดี และจัดหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง หรือในอีกมุมหนึ่ง จะช่วยให้สามารถอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุ และผลได้อย่างชัดเจน ผ่านการนำข้อมูลมาใช้เป็นส่วนสนับสนุนในแต่ละประเด็น
  • สร้างการตัดสินใจแบบ Data-Driven
    เนื่องจากเนื้อหาที่มีความเป็นระเบียบ ทำให้ปะติดปะต่อ เรื่องราวได้ง่าย ผู้ฟังสามารถเข้าใจบริบทของเรื่องราวได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ทีมต่าง ๆ สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลครบถ้วย และมีเหตุผล เนื่องจากทุกอย่างได้รับการอธิบายอย่างชัดเจนในส่วนต่าง ๆ รวมไปถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างผู้นำเสนอ และผู้ฟังได้ง่าย
  • นำเสนอได้แบบมืออาชีพ
    เนื่องจากแนวคิด SCQA จะช่วยแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ ในการนำเสนอข้อมูล หรือความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ หรือการพูดคุยกับผู้บริหารที่มีเวลาน้อย ที่การสื่อสารที่สั้น กระชับ และตรงประเด็น เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าแค่ความสวยงาม หรือการพูดนำเสนอเก่ง

ตัวอย่างการใช้ SCQA Framework

ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่มีการประยุกต์ใช้ SCQA Framwwork ในการทำสไลด์พรีเซนต์ หรือแม้แต่รายงานต่าง ๆ โดยมักเขียน SCQ ไว้ใน Executive Summary หรือบทสรุปในหน้าแรก ๆ ของรายงาน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจบริบท  ยกตัวอย่างเช่น 2024 Digital Media Trends by Deloitte Insights

scqa framework case study

ในส่วนของ Introduction ของรายงานมีการแบ่งเล่าเป็น 3 ส่วน โดยเริ่มจากการเล่าถึงสถานการณ์ (Situation) ของสื่อ และโซเชียลมีเดียที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เกิดเป็นส่วนผสมใหม่ในการสื่อสาร ซึ่งส่งผลให้เกิดความซับซ้อน (Complication) จากการเปลี่ยนแปลง หรือการปฏิวัติภูมิทัศน์ของสื่อ ที่ทำให้แบรนด์ต้องขยายกิจการออกไปนอกเหนือจากธุรกิจหลักของตน นำไปสู่คำถาม (Question) ว่าบริษัทสื่อและบันเทิง (M&E) อาจจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์แบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งทีวีและภาพยนตร์ โซเชียลมีเดียและเนื้อหาที่สร้างโดยผู้ใช้ และเกมแบบโต้ตอบและดื่มด่ำ ซึ่งจะมีขั้นตอนการวางแผน และเริ่มต้นอย่างไร เป็นสิ่งที่รายงานฉบับนี้จะชวยดู ผ่านการนำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบในรายงานนั้นเอง


ทำสไลด์ที่มี Storytelling ได้ใน 1 วัน เปลี่ยน Presentation ให้ไม่ได้มีดีแค่สวยงาม

Presentation ที่ดีไม่ใช่แค่สวย หรือพูดเก่ง แต่ต้องมีโครงเรื่อง หรือลำดับที่ดีอีกด้วย

เวิร์กชอป Effective Data Storytelling เรียนรู้แบบ Onsite 1 วันเต็มที่จะเปลี่ยนคุณจากคนที่ใช้ข้อมูล ให้โน้มน้าวทุกคนได้จริง ผ่านการได้เรียนรู้ทักษะในการสื่อสารข้อมูลที่ใช้จริงในองค์กรระดับโลกอย่าง McKinsey & Company

effective-data-storytelling

เริ่มตั้งแต่การเลือกใช้กราฟชนิดต่างๆ เพื่อเล่าเรื่องราวด้วยข้อมูล และกระตุ้นให้ผู้อื่นสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่าน 3 บทเรียนสำคัญที่จะเปลี่ยนทัศนคติและแนวคิดของคุณในการใช้งานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทุกๆคนพร้อม “ซื้อ” ไอเดียคุณ

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ตรวจสอบรอบที่เปิดรับสมัครได้ที่นี่

More in:Data

Comments are closed.