ผู้ใหญ่หลายๆ คนบอกเด็กรุ่นใหม่ไม่ทน ทำงานไม่อึด แป๊ปๆ ก็ลาออก แต่ถ้าได้ทำงานกับเขา จะรู้ว่าเขาอยู่ในยุคที่ Productivity Lead อะไรที่ไม่ Efficient หรือมันมีทางที่ทำให้ดีกว่า เด็กกลุ่มนี้จะมองหา Solution นั้นๆ กลับเป็นฝั่งผู้นำเองที่ปรับตัวไม่ทัน ไม่เข้าใจโลกยุคใหม่

Talent ยุคใหม่หายาก หรือเพราะผู้นำไม่เข้าใจ Digital

meng-sompoach-digital-leadership

นี่คือความคิดเห็นส่วนหนึ่งจากคุณเหม็ง-สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ CEO แห่ง KT Capital Venture บริษัท Venture Capital ที่ลงทุน และปลุกปั้นธุรกิจ SMEs ไทยให้เติบโตได้ในยุคดิจิทัลของธนาคารกรุงไทย และเป็นอดีต Managing Director แห่ง dtac Accelerate ที่ช่วยบ่มเพาะสตาร์ทอัปในโครงการให้เติบโตเฉลี่ยถึง 500% พร้อมได้รับเงินทุนสนับสนุนถึง 70% นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน Alumni จาก Digital Leadership Bootcamp รุ่นที่ 2 ซึ่งเราชวนคุณเหม็งมาร่วมพูดคุยกับ Skooldio ถึงปัญหาการทำงานขององค์กรยุคใหม่

คุณเหม็งมีโอกาสคลุกคลีกับบริษัทต่างๆ มากมาย หนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดที่เจอในยุคนี้เลยคือเรื่องของ Talent โดยเฉพาะเหล่าคนทำงานรุ่นใหม่ที่เข้าใจเรื่องของดิจิทัล เป็นที่ขาดแคลนเป็นอย่างมาก และด้วยกระแส Digital Transformation ที่เป็นโจทย์หลักของธุรกิจทุกแขนงตลอดหลายปีที่ผ่านมา Talent คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การทำ Transform สำเร็จได้

ซึ่งองค์กรทุกที่ต่างรู้ถึงความสำคัญนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถดึงเด็กเก่งๆ เข้ามาได้ นั้นเพราะองค์กร และผู้นำไม่เข้าใจในเรื่องของดิจิทัลจริงๆ และไม่สามารถสร้าง Culture ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้

Culture องค์กร สภาพแวดล้อมที่ ‘ไม่คลิก’ กับคนรุ่นใหม่

ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่คุณเหม็งชี้ให้เห็นว่าทำไมองค์กรสมัยนี้ไม่มีความ Sexy กับเด็กรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจในเรื่องดิจิทัลเป็นอย่างดี เป็นเพราะเรื่องของ Culture ด้วยความที่เด็กรุ่นใหม่เป็นรุ่นที่โตมากับการมีดิจิทัลตลอด ยุคของเขาคือยุคที่ Productivity Lead อะไรที่ไม่ Efficient อะไรที่ไม่มี Productivity ที่ดีหรือมันมีหนทางที่ทำให้ดีกว่า เด็กกลุ่มนี้เค้าจะไปมองหาแนวทางนั้น

digital-leadership-bootcamp

โดยองค์กรไทยส่วนมากไม่เปิดช่องทางให้เกิด Productivity ด้วยความมีลำดับชั้น และความเป็นขั้นเป็นตอนขององค์กร หรือจะเป็นความไม่เข้าใจในเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้เด็กรุ่นใหม่ก็อยากจะไปหาที่ที่ให้โอกาสในการได้โชว์ศักยภาพ หรือที่ที่เข้าใจเขามากกว่า

ทำไมสมัยก่อนการจ้างงานเด็กง่ายมากเลย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว เด็กเก่งๆ ในไทยหรือบินกลับมาจาก Silicon Valley ก็ตัดสินใจไม่ทำกับบริษัทใหญ่ๆ เค้าเลือกไปทำ Startup เล็กๆ

เหตุผลหลักๆ เลยก็คือ Culture พวกบริษัทเล็กๆ Startup ต่างๆ เขาเปิด Lisence to Fail กับ License to Success ให้กับเด็กๆ หรือโอกาสให้เขาพลาดได้และโอกาสให้เขาประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง ซึ่ง Corporate ใหญ่ๆ มักจะไม่มีให้ องค์กรที่ดีควรเปิดเวทีให้ได้ Fail และ Success ให้กับเขา นั้นคือ Key หลักๆ ที่ Corporate ต้องพยายามปรับให้ได้ ถ้าอยากได้คนรุ่นใหม่

ผู้นำไม่เข้าใจเรื่องดิจิทัล

นอกจากเรื่องการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ Fail เอง หรือ Success เองเพื่อสร้าง Productivity ได้อย่างสุดความสามารถของคนรุ่นใหม่แล้ว คุณเหม็งยังเสริมอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมากให้ คือผู้นำเองต้องเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน เพราะความเข้าใจในเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมันแสดงออกมาให้เห็นได้ผ่าน Culture ของบริษัทด้วย ซึ่งก็จะเป็นหนึ่งปัจจัยในการเลือกทำงานของคนรุ่นใหม่

ผมอยู่ในวงการเทคก็จริงแต่ทุกวันมันเปลี่ยนหมด เรื่องที่รู้เมื่อวานก็กลายเป็นล้าสมัยไปหมดแล้ว

meng-sompoach-digital-leadership

เวลาคุยกับเด็กจบใหม่ เค้า Challenge เราหลายๆ อย่าง เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เยอะมาก ยกตัวอย่างแบบที่เห็นชัดๆ เลย อย่าง Line ที่เราใช้กันอยู่ก็ล้าสมัยไปแล้วด้วยซ้ำสำหรับการทำงาน

เด็กยุคใหม่เขาอาจไม่ได้ใช้ Line ทำงานกัน แต่อาจหันไปใช้ Trello, Slack, Asana แทน แต่หัวหน้างานที่เป็น Gen X หรือ Babyboomer ยังใช้ Line ทำงานกันอยู่ นี่เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ในทุกวันที่จะปรับเปลี่ยนตาม

ถ้าไม่ลงมือทำ ไม่มีทางเข้าใจ

โดยคุณเหม็งกล่าวว่าการจะเข้าใจในเรื่องดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ หรือ Framework ต่างๆ ผู้นำต้องได้ลงมาทำจริงๆ ด้วย เพราะบางครั้งการที่ผู้นำเห็น Keywords ต่างๆ อย่าง AI, Blockchain, Machine Learning, Design Sprint, Design Thinking แต่ไม่เคยลงมาแตะเอง จะไม่มีทางเข้าใจเลยว่าที่มาที่ไปมาอย่างไร มันจะมีคำถามเกิดขึ้นกับทีมตลอด ซึ่งการทำงานแบบนี้ อาจทำให้คนที่ลงมือทำ ไปต่อไม่ได้ ผู้นำจึงควรได้ลองลงมาทำซักครั้งหนึ่งก็ยังดี

digital-leadership

อาจจะไม่ใช่ว่าประธานบริษัท หรือ CEO บริษัทต้องลงมาทำเองเลยตลอด แต่ควรได้ลองมาทำโปรเจกต์เล็กๆ ได้ลองทำกับระดับ One Down ทำกับ C Level เอง ลองทำ Design Thinking งบประมาณใหม่หรือโปรดักส์ใหม่ที่จะออกก็ได้ ถ้าได้ลองลงมือทำแล้ว เวลาให้น้องๆ ในทีมหรือพนักงานไปทำ คุณจะได้เข้าใจเวลาเขานำเสนอไอเดียอะไรมา ว่า Process หรือกระบวนการกรั่นกรองความคิดเหล่านั้นเป็นอย่างไร

เพราะถ้าคุณไม่เคยทำมาก่อนแล้วอยู่ดีๆ บอกให้ทีม Marketing ไปทำ Design Thinking มาสิ หรือทีมเทคไปทำ Design Sprint แล้ว Result อะไรออกมา เค้ามานำเสนอ คุณจะไม่มีทางเข้าใจจริงๆ ว่าไปได้มาอย่างไร จะมีคำถามและ Challenge เขาตลอด ซึ่งการทำแบบนี้ ทางคนทำอาจจะรู้สึกเหมือนโดนสั่งให้ไปทำแล้วพอมาเสนอเจ้านายก็บอกไม่เอาได้ นี่คือเรื่องการทำความเข้าใจ คือการ Empathy ที่ต้องมี แนะนำอยากให้ผู้นำได้ลอง อาจไม่ต้องทุกโปรเจกต์แต่ต้องได้ลองจริงๆ

‘เป๋าตัง’ ตัวอย่างผู้นำทีมที่เข้าใจ Process การทำงานยุคใหม่

ตัวอย่างเคสที่คุณเหม็งชื่นชมมาก ที่ผู้นำทีมเข้าใจในกระบวนการทำงานแบบใหม่ และเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีจริงๆ คือ ‘แอปเป๋าตัง’ ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้รองรับโครงการต่างๆ มากมายของภาครัฐไม่ว่าจะเป็น ชิมช้อปใช้, เราเที่ยวด้วยกัน, คนละครึ่ง หรือ เราชนะ ที่นำทีมโดยคุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

แอปเป๋าตัง โจทย์คือคุณต้อง Launch แอปภายใน 1 เดือน แอปที่คนใช้ทั้งประเทศ User Base ประมาณ 50 ล้านคน

วันแรกพอปล่อยออกมาก็โดนด่าเต็มไปหมด เพราะมันล่ม ตอนแรกเราก็รู้ว่ามันจะมาหลักล้าน System เราก็เตรียมหลักล้าน แต่พอมาจริงๆ มันมา 10 ล้านเลย ก็หน้ามืดกันไป แต่นี่ก็เป็น Process การเรียนรู้ ถ้าคุณเข้าใจ Design Sprint คุณจะเข้าใจว่า ทุกๆ 2 วีค มันจะ Sprint Feature ใหม่ๆ ออกไป นี่คือสิ่งที่เรา Expect อยู่แล้ว 

พอเราเจอปุ๊ปเราจะรู้ว่าต้องรับมืออย่างไร อย่างทีมคุณสมคิด เค้ารู้ Process แบบนี้อยู่ ภายใน 1-2 วัน เขาออก Feature ใหม่ๆ ที่มาแก้เรื่องการรองรับคน แล้วสุดท้ายมันรับโหลดคน 40-50 ล้านคนได้สบายๆ ถ้าคุณไม่เข้าใจ Process แล้ววันแรกออกไปล่ม  ถ้าเป็นยุคสมัยก่อนเราคงจะเรียกลูกน้องมาด่า

อย่าง Facebook ช่วงแรกๆ ของการ Launch เขาก็ออกอัปเดตใหม่บ่อยมากๆ เพราะเขาไม่สามารถรอ 100% ได้ที่จะทำ  ถ้ารอแบบนั้นก็คงมีคนอื่นออกแอปมาแทนแล้ว ฉะนั้น คุณมาได้ 1% ก็ออกไปก่อน มี Feedback เข้ามาละก็ค่อยๆ ปรับให้มันดีขึ้นต่อไป

การเข้าใจกระบวนการอย่าง Design Thinking, Design Sprint, Market Validation มันฟังเหมือนง่ายแต่เอาเข้าจริงๆ มันผ่านการคิดหลายขั้นหลายตอนมากๆ ทำให้เวลาทำเอง เราจะคาดหวังบางอย่างไม่ถูก เราอาจจะไม่ได้ Result กลับมาในแง่ของ Product แต่เราจะได้กระบวนการคิดที่จะไปถึง Result เหล่านั้นแทน ซึ่งถ้าคุณไม่เคยทำ จะไม่เข้าใจ

สำหรับผู้นำที่ต้องการเข้าใจ Digital และได้ลองลงมือทำจริง

ถ้าคุณต้องการลงมือทำ ได้ลองทำ Workshop เพื่อที่จะเข้าใจ Process ร่วมถึงการเข้าใจคนรุ่นใหม่แบบนี้ หลักสูตร Digital Leadership Bootcamp ของ Skooldio จะช่วยคุณมาก ๆ คุณเหม็งในฐานะศิษย์เก่าโครงการช่วยเสริม พร้อมฝากทิ้งท้ายเอาไว้กับเรา

ถ้าไม่อยากล้าสมัย ไม่อยากเจอคนยุคใหม่มาบอกว่า คุณโครต Obsolete (ล้าสมัย) เลยหวะ กรุณามาเรียน Digital Leadership Bootcamp ของ Skooldio ด่วนเลย เพราะคุณจะได้เข้าใจการทำงานกับ Generation ใหม่ ๆ จริง ๆ แล้วมันจะตอบโจทย์กับ Objective หลัก ๆ ของเราว่า เราจะสามารถนำพาองค์กรของเรา ผ่าน Digital Disruption แบบนี้ได้อย่างไร เราจะสามารถทำงานกับเด็กใหม่ ๆ แบบนี้ได้ยังไง เราจะสามารถหา Talent หรือว่าทรัพยากรทางบุคคลที่เก่ง ๆ เข้ามาทำงานกับเราได้ยังไง ถ้าเราเข้าใจพื้นฐานเขา

Skooldio เปิดรับสมัครแล้ว Digital Leadership Bootcamp รุ่นที่ 5 หลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อผู้นำองค์กรยุคใหม่ ! เข้มข้นด้วยเนื้อหาที่คัดสรรมาเพื่อผู้นำแห่งยุคดิจิทัลโดยเฉพาะ ตั้งแต่ Digital Leadership, Digital Business Strategy, Data, AI and Automation และอีกมากมายให้คุณได้ไปรู้ลึก รู้จริง พร้อมลงมือทำจริง และเก่งขึ้นจริง!

DLB-5

เรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดจากวิทยากรชั้นนำระดับประเทศที่จะมาช่วยคุณพัฒนาทุกทักษะแห่งอนาคต ตลอดทั้งหลักสูตร 7 สัปดาห์ ในทุก ๆ วันศุกร์ เวลา 9.30 – 17.30 น. ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.67 – 16 ส.ค. 67

            อ่านรายละเอียดหรือสมัครเรียนที่นี่

More in:Business

Comments are closed.