front end developer

Developer โดยรวมแล้ว Front End Developer คือ ผู้ที่พัฒนาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันในส่วนด้านหน้าของเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันเป็นหลัก เพื่อควบคุมให้มีสี ตำแหน่ง และการตอบสนองตามที่ต้องการ แต่สงสัยกันมั้ยว่า ทำไมหลายคนอยากทำอาชีพนี้ อาชีพนี้ทำหน้าที่อะไร และสำคัญอย่างไรนะ?

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Front End Developer เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่คำว่า Front End คืออะไร? Front End Developer คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง? ทักษะที่ต้องมี และแนะนำการเตรียมตัวสมัครงานตำแหน่ง Front End Developer พร้อมวิธีทำ Resume สุดปัง พร้อมให้ผู้ที่สนใจสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที

ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย

Front End คืออะไร

Front End คือ ส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานมองเห็น และสามารถโต้ตอบกับมันได้ เช่น กดปุ่ม, กรอกแบบฟอร์ม, เมนู, ตัวหนังสือ หรือรูปภาพต่าง ๆ เป็นส่วนที่หลายคนมักจะเรียกกันว่า “หน้าบ้าน” หรือ User Interface (UI)

ในการพัฒนาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน นอกจากในส่วนของ Front End แล้ว ยังมีส่วน Back End ที่เป็นส่วนของระบบที่ควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ หรือที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันว่า “หลังบ้าน” อีกด้วย ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ก็จะมีการทำงานที่ควบคู่กันไป


Front End Developer คือใคร

Front End Developer คือ ผู้พัฒนาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันที่รับผิดชอบในการพัฒนาส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถมองเห็น และสื่อสารกับระบบได้โดยตรง (หรือก็คือในส่วน Front End นั่นแหละ) คอยควบคุมดูแล และสร้างเว็บไซต์ให้มีหน้าตาและใช้งานได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้


หน้าที่ของ Front End Developer

อย่างที่เล่าไป Front End Developer มีหน้าที่พัฒนาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันในส่วนหน้าบ้านเป็นหลัก แต่เพื่อให้ละเอียดมากขึ้น อยากให้ทุกคนเห็น Job Description ของอาชีพนี้ที่รวบรวมมาจากหลาย ๆ บริษัท

  1. สร้างเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันให้สามารถใช้ได้ในแพล็ตฟอร์ม หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บริษัทต้องการ
  2. แปลงการออกแบบจาก Designer ให้ออกมาเป็นรูปแบบ Code
  3. ทำงานร่วมกับ Back-End Developer ในการพัฒนา Product ให้ออกมาใช้งานได้ตามต้องการ
  4. ตรวจสอบ และแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
  5. พัฒนาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เช่น เร็วขึ้น, ใช้งานง่ายขึ้น
  6. สร้างตัวต้นแบบเพื่อนำไปทดสอบการใช้งาน

อาจมีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อยตามแต่ละบริษัท เช่น บางบริษัท Front End Developer อาจต้องช่วยเหลือ UI Designer ด้วย หรือต้องเก็บข้อมูลจากลูกค้าเพื่อนำมาปรับปรุงการใช้งานด้วย ดังนั้นทุกคนควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจสมัครงานนะครับ


ทักษะที่ Front End Developer ควรมี

Front End Developer ที่ดี ควรมีทักษะทั้งในด้าน Hard Skill เพื่อใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง และ Soft Skill เพื่อเสริมการทำงานหลักให้สามารถเป็นไปได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Hard Skill 

Hard Skill ที่ Front End Developer ควรมี คือ การใช้งานภาษา และเครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถสร้างของได้ตรงตามที่ออกแบบ ใช้งานได้จริง และง่ายต่อการแก้ไขในอนาคต โดยควรมีทักษะดังต่อไปนี้

ทักษะการใช้ Front End Language

การพัฒนาซอฟต์แวร์ ย่อมจำเป็นต้องใช้การเขียนโค้ด ดังนั้นความสามารถในการเขียนโค้ดจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยมีภาษา Programming ที่นิยมมากมาย แต่การเลือกใช้ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละองค์กร โปรเจกต์ หรือสถานการณ์ จึงควรรู้จักว่าภาษาที่ผู้พัฒนา Front End นิยมใช้กันมีอะไรบ้าง ดังนี้

HTML

HTML (Hypertext Markup Language) เป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้เขียนโค้ดเพื่อสร้างโครงเนื้อหาต่างๆ ของเว็บไซต์ จึงเป็นทักษะที่สำคัญ

CSS

CSS (Cascading Style Sheets) เป็นภาษาที่ช่วยจัดรูปแบบหน้าตา HTML เหล่านั้นให้สวยงาม มีสีสัน และลูกเล่นต่างๆ ซึ่งสามารถจัดรูปแบบ และปรับเปลี่ยนโครงเว็บไซต์ให้เหมาะสมในแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันได้

อ่านเพิ่มเติม 5 ข้อที่คนมักพลาดเวลาเขียน HTML และ CSS

html-css online course

JavaScript/ TypeScript

JavaScript และ TypeScript เป็นภาษาที่ใช้กำหนดฟังก์ชันบนเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน โดย TypeScript และ JavaScript จะเขียนเหมือนกัน แต่ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดอย่างนึงระหว่าง TypeScript และ JavaScript คือ TypeScript มีการใช้ Type-Checking แบบคงที่ ซึ่งมีไว้เพื่อให้ตรวจจับข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะเกิดข้อผิดพลาดขึ้น

ภาษาที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ในบางองค์กรอาจมีการใช้ภาษานอกเหนือจากที่เล่ามา เช่น Kotlin ซึ่งเป็นภาษาที่นิยมใช้กันในการพัฒนาบน Android จึงมี Developer ที่หันมาใช้ Kotlin มากยิ่งขึ้น

ทักษะการใช้ Front End Frameworks และ Front End Libraries

Frameworks และ Libraries เป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยในการโค้ดสะดวกมากยิ่งขึ้น โดย

Library คือ ชุดของโปรแกรม หรือโค้ดที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำงานบางอย่าง โดยที่เราสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมของเราได้ เช่น ถ้าอยากสร้างช่อง Search ก็สามารถเรียกใช้ชุดโค้ดได้เลย แล้วนำมาปรับปรุงเล็กน้อยให้เข้ากับเว็บไซต์ของเรา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Library จะไม่เป็นโครงสร้างที่ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดของโปรแกรม

Framework คือ ชุดคำสั่ง หรือโครงสร้างที่กำหนดรูปแบบการเขียนโค้ดเพื่อช่วยในการสร้าง และพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยจะมีการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่ต้องการพัฒนาไว้แล้ว ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเขียนโค้ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามมาตรฐาน ช่วยลดเวลา และทำให้โค้ดตรงตามมาตรฐานมากยิ่งขึ้นด้วย

โดยหลาย ๆ คนมักจะเคยได้ยินชื่อ React, Vue.js, AngularJS, Flutter, Ionic ก็ล้วนเป็น Frameworks หรือ Libraries ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

React Jumpstart with Hand-on Learning for Beginners - Online Course

โดยเฉพาะ Flutter ซึ่งเป็น Frameworks ที่มาแรงมากในขณะนี้ เนื่องจาก Flutter จะช่วยให้เราสามารถโค้ดครั้งเดียวแล้วนำไปใช้ได้ในหลากหลายแพล็ตฟอร์มได้ (Hybrid Application) ซึ่งข้อดีของ Flutter ก็มีมากมาย จนหลาย ๆ คนอยากเปลี่ยนจากการใช้ React มาใช้ Flutter แทน ซึ่งจริง ๆ แล้วทั้ง React และ Flutter ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ควรศึกษาเพิ่มเติมก่อนเลือกใช้จะดีที่สุดครับ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ React Hooks

ทักษะการใช้ Version Control/ Git

Version Control คือ กระบวนการที่ใช้ติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงของ Code ทำให้สามารถย้อนกลับไปดูงานในเวอร์ชั่นเก่า ๆ ได้ เพื่อดูข้อผิดพลาด โดยที่ไม่ต้องกลับไปเริ่มต้นทำใหม่ทั้งหมด อีกทั้งยังช่วยในการแบ่งงาน (แตก Branch) อีกด้วย

ทักษะการทำ Responsive Design

Responsive Design คือ หลักการออกแบบที่ทำให้เว็บไซต์สามารถรองรับการใช้งานได้จากทุก ๆ ขนาดหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานใน Mobile, Desktop หรือ Tablet ก็ต้องสามารถกำหนดการแสดงผลได้เหมาะกับหน้าจอขนาดนั้น ๆ

ทักษะ Progressive Web Apps

Progressive Web Apps (PWA) คือ แนวคิดไอเดียจาก Google ที่จะพัฒนาให้ Website มีประสบการณ์ใช้งานใกล้เคียงกับ Application มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ความรวดเร็ว หรือการใช้งานที่ลื่นไหล ลูกเล่นเมนูที่ใช้ง่าย ถือเป็นทักษะที่ถ้าหากทำเป็น จะช่วยเพิ่มเครดิตให้กับตัวเองได้อย่างมากเลยทีเดียว

ทักษะ Testing and Debugging

Testing และ Debugging คือการตรวจสอบ ทดสอบ และแก้ไขโค้ดเพื่อหา Bug และทำการแก้ไข หรือเพื่อพัฒนาให้ซอฟต์แวร์ดีขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นทักษะที่ควรมี

ทักษะการใช้ Browser Developer Tools

Browser Developer Tools เป็นเครื่องมือที่มาพร้อมกับ Browser นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ Developer สามารถเข้าไปตรวจสอบ ทดสอบ ปรับแต่งเว็บไซต์ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าเว็บไซต์เป็นไปตามความคาดหวัง

ทักษะการตรวจสอบ และปรับปรุง Web Performance

เมื่อพูดถึงเรื่อง Performance ของเว็บ ก็จะพูดเรื่องความเร็วเป็นหลัก Developer ที่ดีต้องสามารถลดขนาดของ Component บนหน้าเว็บให้อยู่ในขนาดที่พอดี เพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น

ทักษะการใช้ Command Line

Command Line คือ การใช้ Text เข้าถึง และใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ จะต่างจากแบบ GUI (Graphic User Interface) หรือที่แสดงเป็นหน้าจอสวยงามแบบที่เราสามารถคลิก ๆ ในสิ่งที่เห็นได้เลย ซึ่งการทำงานของ Developer บางครั้งก็ต้องพึ่งพา Command Line อยู่บ้าง เพราะ เครื่องมือบางชนิดอาจจำเป็นต้องมีการใช้ Command Line ร่วมด้วย หรืออาจทำให้สามารถทำงานกับผู้พัฒนาในส่วน Back End ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ในบางองค์กร หรือบางโปรเจกต์ อาจมีการใช้ภาษาหรือเครื่องมือที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาจมีการใช้ภาษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ มากกว่า แต่ไม่ว่าจะภาษาหรือเครื่องมือใดก็ตาม การทำงานของภาษาและเครื่องมือต่าง ๆ มักจะมี Logic ไม่ต่างกันมาก ดังนั้นการเริ่มฝึกจากภาษาที่ใช้กันทั่วไป เช่น HTML, CSS, JavaScript ก่อน จึงเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย

Soft Skill

Soft Skill ที่ Front End Developer ควรมี คือ การสื่อสาร การตัดสินใจ และการมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังพัฒนา เพื่อช่วยให้เข้าใจบริบทในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ผลลัพธ์ของงานที่ได้รับมอบหมายออกมาดีมากขึ้น

Business Mindset

Developer ที่ดีควรมองตัวเองเป็นธุรกิจหนึ่ง ที่กำลังขายความสามารถของเราให้กับบริษัทที่เรากำลังทำงานอยู่ โดยเราควรพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น และทันต่อ Trend ใหม่ ๆ เสมอ

Product Mindset

การเป็น Developer ที่ดี ไม่เพียงแต่สร้างของตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจ Product เพื่อให้สามารถสร้างของที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดีขึ้น

People Skill

การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้า ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น

Communication Skill

การมีทักษะการสื่อสารจะช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ถูกต้องมากขึ้น ส่งผลดีต่องานในหลาย ๆ ด้าน เช่น หากสามารถอธิบายเรื่อง Technical ยาก ๆ ให้ทีมอื่นเข้าใจได้ ก็จะช่วยให้งานดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง และรวดเร็วมากขึ้น

Making Tough Decision

บ่อยครั้งที่ต้องเจอปัญหายาก ๆ ในการทำงาน การสามารถตัดสินใจหาทางออกให้กับปัญหานั้นจึงสำคัญมาก

how to become a better programmer - online course


เตรียม Resume สำหรับ Front End Developer

Resume ของ Front End Developer ควรมุ่งเน้นในการแสดงให้ Recruiter เห็นถึงทักษะที่เรามี และควรมีหลักฐานมายืนยันความสามารถนั้น ๆ ด้วยโดยทางเรามี Tips and Tricks 4 ข้อง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ Resume ของตัวเองได้เลย ดังนี้

  1. เน้นในส่วน Front End Development Skill: เพราะ เป็นสิ่งที่หลายบริษัทดูเป็นอันดับต้น ๆ โดยทำให้ส่วนนี้เด่น และเพิ่มเติมทักษะที่บริษัทนั้น ๆ กำลังมองหา
  2. เพิ่มส่วน Side Project เข้าไปด้วย: เพราะ จะช่วยให้ Recruiter เห็นถึงประสบการณ์ที่เคยผ่านมาได้ชัดเจนมากขึ้น และถ้าเป็น Project ที่เราทำด้วยตัวเองในเวลาว่าง จะช่วยแสดงความสนใจของเราที่มีต่อการ Development ซึ่งแน่นอนว่า Recruiter ต้องชอบอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าเป็น Project ที่ตรงกับสิ่งที่บริษัทนั้น ๆ กำลังมองหา จะยิ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเราได้มากเลยทีเดียว
  3. ใส่ Courses เรียน หรือ Certificates ที่เกี่ยวข้อง: ในส่วนนี้จะช่วยแสดงหลักฐานของทักษะ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเล่ามาทั้งหมด และยังเป็นตัวที่บอกว่าเราเป็นคนที่พยายามอัพเดทความรู้อย่างสม่ำเสมอ
  4. ใส่ข้อมูล GitHub ของตนเอง: เพราะเพียง Resume อาจไม่เพียงพอ Recruiter มักจะมองหาผลงานจริง ๆ มากกว่าเพียงแค่ข้อมูลใน Resume ดังนั้นอาจต้องมีเว็บ หรือบล็อกสำหรับโชว์ผลงานของเรา ซึ่งโดยปกติแล้ว หลาย ๆ คนมักจะใช้ GitHub เพื่ออัพโหลดผลงานของตนเอง และนำชื่อ Account ของตัวเองไปใส่ใน Resume ในส่วน Contact เพื่อให้ผู้คัดเลือกสามารถค้นหา และดูผลงานผ่าน GitHub ได้

อย่างไรก็ตาม การทำ Resume ที่นำมาเสนอนี้ เป็นเพียงสิ่งที่มักจะใช้กันเท่านั้น อาจมีบางหัวข้อที่เหมาะ หรือไม่เหมาะที่จะใส่ในการสมัครงานบางประเภท ดังนั้นในการสมัครงานจริง ๆ เราควรศึกษาความต้องการของบริษัทที่จะไปสมัคร ดูว่าคนที่เค้ากำลังมองหาคือใคร ต้องมีทักษะอย่างไร แล้วทำ Resume ให้ตรงกับสิ่งที่บริษัทนั้น ๆ ต้องการ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการผ่านการคัดเลือกได้มากเลยครับ


Front End Developer เงินเดือนเท่าไร

เงินเดือนตำแหน่ง Front End Developer ในประเทศไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 32,170 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์กร และอุตสาหกรรม (ข้อมูลจาก Indeed อัพเดทเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565)


แนวทางการศึกษาเพิ่มเติม

อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักตำแหน่งนี้เป็นอย่างดีแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจในสายอาชีพนี้ ทางเราขอแนะนำวิธีการศึกษา และพัฒนาทักษะด้าน Front End เพิ่มเติม ดังนี้

  1. อ่านหนังสือ หรือบทความต่าง ๆ เพิ่มเติม
  2. อ่าน Case Study หรือศึกษาผลงานของคนอื่น เพื่อให้เข้าใจวิธีคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาของผู้อื่น เช่น บทความ: กว่าจะเป็น Skooldio Tutorials
  3. ติดตามข่าวสารในวงการ Developer
  4. ลองศึกษาเส้นทางการย้ายสายงานมาทำอาชีพนี้ เช่น เปิดเส้นทางย้ายสายจากนิเทศเอกฟิล์ม สู่ Software Developer, จากสถาปนิกสู่โปรแกรมเมอร์
  5. ลงเรียนคอร์ส Technology กับทาง Skooldio!
  6. ลองฝึกฝนทำจริง เพื่อเพิ่มทักษะ และยังเป็นการช่วยเตรียม Profile สำหรับสมัครงานอีกด้วย

วัดทักษะ Front End

คนที่อยากทำงานสายนี้อาจจะยังมีคำถามอยู่ว่าเราจะเหมาะมั้ย เก่งพอหรือยัง หรือคนที่ทำงานสายนี้อยู่แล้วคงอยากจะรู้ว่าตอนนี้ตัวเองต้องพัฒนาทักษะด้านไหนเพิ่มบ้าง โดยทุกคนสามารถเข้าไปวัดความรู้กับ Skill Score ในหัวข้อตามนี้ได้เลย

การทำแบบทดสอบจะได้รู้ว่าส่วนไหนที่ขาด ส่วนไหนที่ดีแล้ว ทุกคนจะได้พัฒนาตัวเองได้อย่างถูกทาง ซึ่ง Skooldio หวังว่าทุกคนจะสามารถพัฒนาเป็นในสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นได้ครับ


หากคุณสนใจอยากจะเริ่มต้นเรียนรู้พื้นฐานการเป็น Front End Developer มืออาชีพมาเริ่มต้นง่ายๆ กันได้ใน Web Development Bootcamp จาก Skooldio

Web Development Bootcamp จาก Skooldio

Bootcamp ที่จะช่วยพัฒนาคุณให้ก้าวสู่การเป็น Front-End Developer ใน 4 เดือน รูปแบบ Hybrid (Online+Onsite) โดยเน้นด้านการ “พัฒนาเว็บไซต์” อย่างเข้มข้น ไม่ว่าคุณจะเป็นคนย้ายสาย หรือ ไม่มีพื้นฐานเริ่มจาก 0 ก็สามารถมาอัปสกิลให้เก่งขึ้น ทำงานได้จริง สมัครเรียนเลย

และหากไม่อยากพลาด Content ดี ๆ แบบนี้ อย่าลืมติดตามช่องทาง Social Media ของ Skooldio ทั้ง Facebook, Instagram, TikTok และ Skooldio Blog กันไว้ด้วยนะครับ ✌️

Bhumibhat Imsamran
Business Development Associate | Skooldio

More in:Technology

Comments are closed.